การจัดตั้งรัฐบาล ของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2518

หลังเลือกตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน)

รัฐธรรมนูญสมัยนั้น กำหนดว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจาก สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร ม.ร.ว.เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ จึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวม ส.ส.พรรคต่าง ๆ รวม 8 พรรค ได้ 135 เสียง เท่ากับครึ่งหนึ่งพอดี จัดตั้งรัฐบาลโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีเสียงมากที่สุด 74 เสียง กลายเป็นฝ่ายค้าน

แต่ความเป็นรัฐบาลต้องเผชิญกับแรงกดดันต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะเสถียรภาพรัฐบาล ที่มีจำนวน ส.ส.ในสภาแบบก้ำกึ่ง ในที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ต้องตัดสินใจยุบสภา เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหันไปเข้าร่วมกับฝ่ายค้าน เสนอญัตติขอร่วมเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมเวลาที่บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปี 1 เดือน

หลังจากยุบสภามีการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่คือ การเลือกตั้ง วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519[3] [4] [5]

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565