การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2531

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ชาติไทยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ถือเป็น การเลือกตั้งครั้งที่ 17 ของประเทศไทย โดยเกิดจากการที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2531 อันเนื่องจากรัฐบาลมีความขัดแย้งกันเอง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกันผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทย โดย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยเสียง 87 ที่นั่ง รองลงไปคือ พรรคกิจสังคม มี 54 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 48 ที่นั่ง ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงเกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งหมด 357 เสียง[1]แกนนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับแรก 5 พรรคประกอบไปด้วย ชาติไทย , กิจสังคม , ประชาธิปัตย์ , รวมไทย และ ประชากรไทย ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า พล.อ.เปรม มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ จึงเข้าพบกับ พล.อ.เปรม ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งเป็นบ้านพัก ในเวลาค่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม แต่ พล.อ.เปรมได้ปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อ โดยให้เหตุผลว่า ระยะเวลารวมทั้งหมด 8 ปี 5 เดือน ที่ตนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเพียงพอแล้ว อีกทั้งบ้านเมืองก็มีเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับที่น่าพึงพอใจ พล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีคะแนนเสียงมากที่สุด จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีเดียวกันในส่วนของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในเวลาต่อมาไม่นานในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีจุดที่น่าสนใจ คือ เป็นการลงเลือกตั้งครั้งแรกของ พรรคพลังธรรม โดยมี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรค ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอยู่ด้วย ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งต่อมา คือ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคพลังธรรมได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวง และถือเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองครั้งแรกของนักการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม ที่ต่อมามีบทบาททางการเมืองและสังคมที่สำคัญหลายคน เช่น นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์, นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์, ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นต้น[2] [3]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_พ.ศ._2531

เขตของผู้นำ นครราชสีมา
เขต 3
ผู้นำ เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
การเลือกตั้งล่าสุด ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
พรรค ประชาชน (พ.ศ. 2531)
ที่นั่งเปลี่ยนแปลง 19
ที่นั่งที่ชนะ 19
First partySecond partyThird partyผู้นำพรรคเขตของผู้นำการเลือกตั้งล่าสุดที่นั่งที่ชนะที่นั่งเปลี่ยนแปลง Fourth partyFifth partySixth partyผู้นำพรรคเขตของผู้นำการเลือกตั้งล่าสุดที่นั่งที่ชนะที่นั่งเปลี่ยนแปลง Seventh partyEighth partyNinth partyผู้นำพรรคเขตของผู้นำการเลือกตั้งล่าสุดที่นั่งที่ชนะที่นั่งเปลี่ยนแปลง
 First partySecond partyThird party
 ไฟล์:Chatchai.jpg
ผู้นำชาติชาย ชุณหะวัณสิทธิ เศวตศิลาพิชัย รัตตกุล
พรรคชาติไทยกิจสังคมประชาธิปัตย์
เขตของผู้นำนครราชสีมา
เขต 1
กรุงเทพมหานคร
เขต 2
กรุงเทพมหานคร
เขต 6
การเลือกตั้งล่าสุด645199
ที่นั่งที่ชนะ875348
ที่นั่งเปลี่ยนแปลง 23 2 51

 Fourth partyFifth partySixth party
 
ผู้นำณรงค์ วงศ์วรรณสมัคร สุนทรเวชเทียนชัย ศิริสัมพันธ์
พรรครวมไทยประชากรไทยราษฎร (พ.ศ. 2529)
เขตของผู้นำแพร่
เขต 1
กรุงเทพมหานคร
เขต 1
ลพบุรี
เขต 1
การเลือกตั้งล่าสุด192420
ที่นั่งที่ชนะ343121
ที่นั่งเปลี่ยนแปลง 15 7 1

 Seventh partyEighth partyNinth party
 
ผู้นำเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์พลเอกอาทิตย์ กำลังเอกพลตรีจำลอง ศรีเมือง
พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)ปวงชนชาวไทยพลังธรรม
เขตของผู้นำนครราชสีมา
เขต 3
เลย
เขต 1
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
การเลือกตั้งล่าสุดไม่ได้ลงเลือกตั้ง1ไม่ได้ลงเลือกตั้ง
ที่นั่งที่ชนะ191715
ที่นั่งเปลี่ยนแปลง 19 16 15

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544