การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_มกราคม_พ.ศ._2489

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เสรีไทยควง อภัยวงศ์
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 นับเป็น การเลือกตั้งในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 4 การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงสืบเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เนื่องด้วยสภาฯชุดนี้มีอายุยาวนานมากพอสมควรแล้ว เนื่องจากไม่มีการเลือกตั้งเพราะอยู่ในสภาวะสงคราม โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2489 โดย ม.ร.ว.เสนีย์ รักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้มีจำนวนสมาชิกผู้ได้รับเลือกเป็นจำนวน 96 คนการเลือกตั้งครั้งนี้กำหนดตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้ 2 ประเภท คือ 1. ส.ส.ตามที่ประชาชนทั่วไปเลือก 2. ส.ส.ที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือก โดยประชาชนเลือกได้เขตละหนึ่งคน และจำกัดจำนวนประชากรที่ 200,000 คนต่อ ส.ส.หนึ่งคนผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,431,827 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,091,788 คน คิดเป็นร้อยละ 32.52 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดบุรีรัมย์ คิดเป็นร้อยละ 54.65 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดสุพรรณบุรี คิดเป็นร้อยละ 13.40เหตุการณ์ที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้คือ การรณรงค์หาเสียงแข่งขันในจังหวัดพระนคร ระหว่าง นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีช่วงสงคราม กับนายวิลาศ โอสถานนท์ ซึ่งการแข่งขันของทั้งคู่เต็มไปด้วยสีสันและผู้คนให้ความสนใจมาก ด้วยความที่เคยเป็นคณะราษฎรสายพลเรือน ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 มาด้วยกัน และได้รับยศ พันตรี (พ.ต.) สังกัดทหารสื่อสาร ในฐานะราชองครักษ์ ในช่วงสงครามอินโดจีน มาพร้อมกัน โดยนายควงใช้คำขวัญที่ว่า "เหล็กวิลาศหรือจะสู้ตะปูควง" ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง ชนะเลือกตั้งไปด้วยคะแนนถล่มทลาย อีกทั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช รักษาการนายกรัฐมนตรีก็ได้ลงรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งด้วยหลังจากนี้ ได้มีการโหวตกันในรัฐสภา ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่เลือก นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นสมัยที่ 2 ของนายควง ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 14 แต่ว่าคณะรัฐมนตรีคณะนี้ก็มีอายุอยู่ได้เพียงเดือนเศษ ก็ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "พ.ร.บ.ปักป้ายข้าวเหนียว" ที่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีได้แถลงให้สภาฯทราบแล้วว่า คณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติตามร่างพระราชบัญญัติฯนั้นได้ เพราะเกรงจะเป็นการเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วไป เนื่องด้วยไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ แต่สภาฯได้ลงมติรับหลักการ ด้วยคะแนนเสียง 65 ต่อ 63 รัฐมนตรีทั้งคณะจึงได้กราบถวายบังคมฯ ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งสมาชิกคณะรัฐมนตรีคณะนี้ส่วนหนึ่ง ได้ร่วมกันก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาในเวลาหลังจากนี้ต่อมาไม่นาน[1] [2] [3]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_มกราคม_พ.ศ._2489

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544