การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_สิงหาคม_พ.ศ._2489
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_สิงหาคม_พ.ศ._2489

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_สิงหาคม_พ.ศ._2489

ปรีดี พนมยงค์
เสรีไทยถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
Constitutional Front Partyการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 นับเป็น การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 5 และถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งที่ 2 ของปี พ.ศ. 2489 เพราะก่อนหน้านั้นมีการเลือกตั้งมาแล้วเมื่อต้นปีเดียวกันสืบเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ที่ได้ประกาศใช้ไม่นานก่อนหน้านี้ กำหนดให้ยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้น ในวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน เฉพาะใน 47 จังหวัด เพื่อให้ได้จำนวนสมาชิกครบ 82 คน ตามจำนวนของสภาฯ ผลของการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 5,819,662 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,026,823 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็นร้อยละ 57.49 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 16.62 [1]ความน่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในสภาวะการเมืองเกิดความผันแปรอย่างรุนแรง เนื่องด้วยกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ซึ่งทำให้ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ท่ามกลางกระแสโจมตีและข่าวลือต่าง ๆ นานาและระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ได้ปรากฏความรุนแรงขึ้น เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลได้โปรยใบปลิวทางเครื่องบินประณามฝ่ายค้าน โดยเรียกว่า "ผลงานชิ้นโบว์ดำ" พรรคประชาธิปัตย์ ขณะปราศรัยที่ถนนราชดำเนิน ท่ามกลางฝูงชนที่แออัดมาฟัง มีผู้ขับรถบรรทุก ซึ่งภายในบรรทุกอาวุธสงครามต่าง ๆ จำนวนมากจะฝ่าเข้ามา และในวันที่ 4 สิงหาคม ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นเพียงวันเดียว ที่วงเวียนเล็ก จังหวัดธนบุรี นายไถง สุวรรณทัต ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกปาระเบิดใส่เวที ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนแพทย์ต้องตัดขาข้างขวาทิ้ง แต่นายไถงก็ยังได้รับเลือกเป็น ส.ส.ในที่สุด[2] [3]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป_สิงหาคม_พ.ศ._2489

ผู้นำ ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
พรรค พรรคแนวรัฐธรรมนูญ
First partySecond partyThird partyผู้นำพรรคที่นั่งที่ชนะ
 First partySecond partyThird party
 
ผู้นำถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ควง อภัยวงศ์ปรีดี พนมยงค์
พรรคพรรคแนวรัฐธรรมนูญพรรคประชาธิปัตย์พรรคสหชีพ
ที่นั่งที่ชนะ57 ที่นั่ง18 ที่นั่ง
ที่นั่งที่ชนะ 57 ที่นั่ง

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544