นิยาม ของ การเลือกเชิงตรรกศาสตร์

OR Logic Gate

ในตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์, ประพจน์เลือก คือประโยคที่เชื่อมด้วย "หรือ" ยกตัวอย่างเช่น "มานะเล่นฟุตบอล หรือ มานีทำการบ้าน" เป็นประพจน์เลือก

สังเกตว่าในชีวิตประจำวัน เมื่อเราใช้คำว่า "หรือ" เราอาจหมายความว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง (เช่น "คุณต้องการกาแฟหรือชา?") ในตรรกศาสตร์ ความหมายดังกล่าวถูกแทนด้วยการเลือกเฉพาะ หรือ "ออร์เฉพาะ" สำหรับกรณีของ "หรือ" นั้น เมื่อใช้อย่างเป็นทางการจะอนุญาตให้ทั้งสองส่วนของประโยคเป็นจริงได้ หลายครั้ง "หรือ" จึงมักถูกเรียกว่า "การเลือกรวม"

หมายเหตุ: ในการนิยาม "x + y" นั้นบูลได้ใช้เงื่อนไขเบื้องต้นในลักษณะเดียวกับคณิตศาสตร์ทั่วไป นั่นคือให้ x และ y นั้นไม่เกิดร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ เจวอนส์และนักตรรกศาสตร์เกือบทุกคนในภายหลังได้เปลี่ยนให้นิยามของ "การบวกเชิงตรรกศาสตร์" อยู่ในรูปที่สองส่วนของประโยคเกิดพร้อมกันได้

สำหรับกรณีที่มีตัวแปรป้อนเข้าสองจำนวน A และ B, ตารางค่าความจริงของ "หรือ" เป็นดังนี้:

A {\displaystyle A} B {\displaystyle B} A ∨ B {\displaystyle A\lor B}
FFF
FTT
TFT
TTT

ในรูปทั่วไปแล้วประพจน์เลือกคือสูตรทางตรรกศาสตร์ที่สามารถมีสัญพจน์หนึ่งหรือหลายสัญพจน์ที่คั่นด้วย "หรือ" สัญพจน์เดี่ยวมักถือว่าเป็นประพจน์เลือกลดรูป

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544