การแกะรอยในเพชรพระอุมา

การแกะรอยในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้นำเอาทักษะ วิชาความรู้และวิธีการการแกะรอย สะกดรอย สอดแทรกไว้ในเพชรพระอุมา โดยผ่านตัวละครที่มีอาชีพพรานป่าหรือพรานนำทาง สะท้อนให้เห็นถึงการติดตามร่องรอยเช่นเครื่องหมายต่าง ๆ ตามพื้นดิน กิ่งไม้ ร่องรอยการขูดขีดตามต้นไม้ใหญ่ หรือร่องรอยของสัตว์หรือมนุษย์ ที่ได้ทิ้งไว้ตามจุดต่าง ๆ รองรอยของสัตว์ป่าส่วนใหญ่ที่พรานป่านิยมใช้ในการแกะรอยคือรอยเท้า ร่องรอยการถูไถของร่างกายกับกิ่งไม้หรือบริเวณโคนต้นไม้ กลิ่นปัสสาวะและร่องรอยของเลือดในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ[1] การตามรอยสัตว์ในชั้นเชิงของพรานป่า จะสำรวจสภาพของป่าและสภาพแวดล้อมบริเวณป่า เนื่องจากสภาพของป่ามีความแตกต่างกันตามสภาพของภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศการแกะรอยสัตว์นั้น พรานป่าผู้ชำนาญการแกะรอยจะสังเกตสภาพแวดล้อมของป่าก่อนทำการแกะรอย ถ้าป่าที่ตามแกะรอยสัตว์เป็นป่าดงดิบ อันตรายในการแกะรอยย่อมมากกว่าการแกะรอยในป่าดิบชื้นหรือป่าเบญจพรรณต้นไม้น้อยใหญ่ในป่า จึงมีความแตกต่างกันตามแต่ชนิดของป่า ป่าดงดิบส่วนใหญ่ต้นไม้ที่เจริญเติบโตในป่าได้แก่ ยางโอน ยางแดง สัก มะหวด ล้านช้าง มะเดื่อปล้อง นอกจากไม้ใหญ่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าแล้ว แหล่งไม้เถาไม้เลื้อยในป่า ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกหลายชนิด เช่น ค่างแว่น ลิง ชะนีหน้าขาว กระรอกดำ หมี กระแต เป็นต้น[2]

ใกล้เคียง

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การแก้แค้นของนายมาซามุเนะ การแก้ต่างว่าเป็นกรณีพิเศษ การแก้ปัญหายิวครั้งสุดท้าย การแกว่งกวัด การแกะรอยในเพชรพระอุมา การแสร้งป่วย การแก้จิตรกรรม การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 1 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ