การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง
การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง

การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง

การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึง (อังกฤษ: argument from silence, argumentum ex silentio) เป็นการสรุปเหตุการณ์โดยอาศัยการไม่กล่าวถึงเรื่องที่เป็นประเด็นในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ไม่อาศัยการกล่าวถึงเหตุการณ์[2][3]ในการศึกษาศิลปะคลาสสิก นี้มักจะหมายถึงการระบุว่า ผู้เขียนไม่รู้เรื่องนั้นเพราะไม่เขียนถึงเรื่องนั้น[3]ในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์นิพนธ์ การไร้การอ้างอิงถึงเหตุการณ์อาจจะใช้สร้างความเคลือบแคลงใจในเหตุการณ์นั้น[4]แม้การวิเคราะห์โดยมากจะอาศัยเรื่องที่ผู้เขียนเขียนไว้ แต่การให้เหตุผลเช่นนี้กลับอาศัยสิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้เขียนไว้[4]คือ ใช้เหตุผลว่าผู้เขียน "ควรจะได้กล่าวเรื่องนี้ไว้" แทนที่จะใช้สิ่งที่เขียนไว้จริง ๆ[4][5]การให้เหตุผลเช่นนี้มักใช้กับเอกสารที่คิดว่า ผู้เขียนควรจะมีข้อมูลนั้น ผู้ต้องการจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้สมบูรณ์ที่สุด และเรื่องนั้นสำคัญพอหรือน่าสนใจพอ[6][7]การให้เหตุผลนี้ต่างกับ arguments from ignorance ซึ่งอาศัยการไร้หลักฐานโดยสิ้นเชิงเพื่อเป็นเหตุผล ซึ่งทั่วไปพิจารณาว่า เชื่อถือไม่ได้ แต่การให้เหตุผลโดยอาศัยการไม่พูดถึงโดยทั่วไปก็จัดว่าเป็นหลักฐานที่อ่อน และบางครั้งก็จัดเป็นเหตุผลวิบัติเลย[1][8]

ใกล้เคียง