กฎของกาลานุกรมต้นไม้ ของ กาลานุกรมต้นไม้

เป็นกฎพื้นฐานในการศึกษาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีต คือ Principle of uniformity in the order of nature ที่เสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดย James Hutton ในปี 1785 และเป็นที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า “ปัจจุบันเป็นกุญแจไขไปสู่อดีต” เมื่อประยุกต์กฎข้อนี้ในทางกาลานุกรมต้นไม้แล้วกล่าวได้ว่า สภาวะต่าง ๆ ที่แปรผันในปัจจุบันสามารถนำไปทดแทนในอดีตได้ ซึ่งไม่ใช่หมายความว่าจะเหมือนกันไปเสียทุกอย่าง เพียงแต่สิ่งกระทบในลักษณะเดียวกันจะส่งผลในกระบวนการในลักษณะเดียวกัน กฎของกาลานุกรมต้นไม้ประกอบด้วยกฎย่อย ๆ ดังนี้

  • The Uniformitarian Principle

กระบวนการทางกายภาพและชีวภาพที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกับรูปแบบการเติบโตของต้นไม้ในปัจจุบันต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต (after Fritts, 1976) อย่างไรก็ตามกาลานุกรมต้นไม้ได้เพิ่มเติมกฎข้อนี้ก็คือ “อดีตเป็นกุญแจไขไปสู่อนาคต” หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรู้สภาพแวดล้อมในอดีต เราก็สามารถที่จะทำนายและจัดการสภาพแวดล้อมในอนาคตได้

  • The Principle of Limiting Factors

กล่าวว่า - อัตราของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับพืชสามารถเกิดขึ้นได้เร็วเท่าที่จะยินยอมได้โดยปัจจัยที่มีลักษณะจำกัดที่สุดเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าการตกของฝนเป็นปัจจัยที่มีลักษณะจำกัดที่สุด จำนวนเนื้อไม้ที่ต้นไม้จะผลิตขึ้นในปีหนึ่ง ๆ ก็จะเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาภายในปีนั้น ๆ ค่าปริมาณน้ำฝนต่อปีเป็นปัจจัยที่จำกัดที่สุดของการเจริญเติบโตของพืชในเขตพื้นที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ยิ่งมีปริมาณน้ำฝนมากวงปีก็จะกว้างมาก ในเขตละติจูดสูงอุณหภูมิจะเป็นปัจจัยที่จำกัดที่สุดที่จะมีผลต่อความกว้างของวงเติบโต

  • The Principle of Aggregate Tree Growth

กล่าวว่า - ชุดลำดับของการเจริญเติบโตของต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ สามารถแตกแยกย่อยไปเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์และโดยธรรมชาติที่จะมีผบกระทบต่อรูปแบบการเจริญเติบโตของต้นไม้ตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่น การเกิดวงเติบโตของต้นไม้ในปีหนึ่ง ๆ เป็นหน้าที่ของผลรวมของปัจจัยดังนี้: - แนวโน้มการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับอายุอันเนื่องมาจากกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการหาอายุทางกายภาพปกติทั่วไป - ภูมิอากาศที่เกิดขึ้นระหว่างปีนั้น มีหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นในป่า (เช่น ลมโค่นต้นไม้ลง) - เกิดปัจจัยจากภายนอกป่า (เช่น การระบาดของแมลงทำให้ใบไม้ร่วง ยังผลให้ลดการเจริญเติบโต) - กระบวนการสุ่มไม่นับรวมกับกระบวนการอื่น ๆ เหล่านี้ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมตามที่ต้องการ ควรจะลดปัจจัยอื่น ๆ ลงไป ตัวอย่างเช่น เพื่อเพิ่มสิ่งกระตุ้นสูงสุดทางภูมิอากาศ ควรจะกำจัดแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับอายุ และต้นไม้และพื้นที่ที่ถูกคัดเลือกเพื่อที่จะลดความเป็นไปได้สูงสุดของกระบวนการทางนิเวศวิทยาทั้งจากภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้

  • The Principle of Ecological Amplitude

กล่าวว่า - สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจเจริญเติบโต สืบพันธุ์ และแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางหรือแคบหรืออาจจะอยู่ในขอบเขตถิ่นอาศัยที่จำกัดได้ ตัวอย่างเช่น สนไพน์พอนเดอโรซ่า (Pinus ponderosa) มีการแผ่ขยายปกคลุมไปกว้างขวางเป็นอย่างมากในอเมริกาเหนือ โดยสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้ในถิ่นอาศัยที่หลากหลาย (แห้งแล้ง ชุ่มชื้น ในระดับพื้นที่ต่ำ และที่สูง) ดังนั้นสนไพน์พอนเดอโรซ่านี้จึงมีช่วงความทนทานทางนิเวศวิทยาที่กว้างขวาง ในทางกลับกัน ต้นเรดวู้ดยักษ์ (Sequoiadendron giganteum) เจริญเติบโตได้เฉพาะในพื้นที่จำกัดอยู่ทางพื้นที่ด้านตะวันตกของป่าเซียร่าเนวาดาของแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ดังนั้นสนเรดวู้ดยักษ์นี้จึงมีช่วงความทนทานทางนิเวศวิทยาที่แคบ กฎข้อนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะว่าชนิดพืชที่มีประโยชน์ในทางกาลานุกรมต้นไม้ปกติแล้วจะพบอยู่ใกล้บริเวณขอบของช่วงธรรมชาติของมันเหล่านั้น อย่างเช่น สนสปรูซขาว (Picea glauca)

  • The Principle of Site Selection

กล่าวว่า - สถานที่ที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งศึกษากาลานุกรมต้นไม้นั้น สามารถถูกกำหนดและเลือกได้ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ควรเป็นบริเวณที่มีต้นไม้ที่มีชุดของวงเติบโตที่ตอบสนองต่อความแปรผันของสภาพสิ่งแวดล้อมที่จะศึกษา ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ที่จะตอบสนองเป็นการเฉพาะต่อสภาวะที่แห้งแล้งปกติจะพบได้ในที่ที่มีปริมาณน้ำฝนจำกัด ตัวอย่างเช่น บริเวณพื้นที่หินโผล่ หรือบนสันเขา ดังนั้นนักกาลานุกรมต้นไม้ผู้ที่สนใจสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งในอดีตควรเสนอเก็บตัวอย่างต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตในพื้นที่ที่รู้ว่ามีความจำกัดในแหล่งน้ำ ต้นไม้ที่เจริญเติบโตในพื้นที่ต่ำหรือพื้นที่มีความชุ่มชื้นสูงจะให้ชุดของวงเติบโตที่ตอบสนองต่อปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อย นักกาลานุกรมต้นไม้ต้องเลือกพื้นที่ที่จะตอบสนองสูงสุดต่อสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะศึกษา

  • The Principle of Crossdating

กล่าวว่า - รูปแบบการทับซ้อนในความกว้างของวงเติบโตหรือลักษณะของวงเติบโตอื่น ๆ (อย่างเช่น รูปแบบความหนาแน่นของวงเติบโต) ในบรรดาลำดับชุดของวงเติบโตของไม้หลาย ๆ ชุดทำให้สามารถวินิจฉัยปีปฏิทินที่ชัดเจนแน่นอนในที่ซึ่งวงเติบโตแต่ละวงเกิดขึ้น ตัวอย่างอันหนึ่งที่สามารถหาอายุอาคารที่ก่อสร้าง อย่างเช่น โกดังหรือ pueblo ของชาวอินเดีย โดยการทับซ้อนรูปแบบของวงเติบโตของไม้ที่ได้มาจากอาคารกับวงเติบโตของไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ในปัจจุบัน

  • The Principle of Replication

กล่าวว่า - สิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะศึกษาสามารถเพิ่มขึ้นได้และลดจำนวนสิ่งรบกวน (noise) ลง ได้โดยการเก็บตัวอย่างชิ้นไม้จากต้นไม้หนึ่ง ๆ มากกว่าหนึ่งชิ้นของลำต้นและมากกว่าหนึ่งต้นต่อหนึ่งพื้นที่ การเก็บตัวอย่างไม้มากกว่าหนึ่งแท่งตัวอย่างจากต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ จะลดจำนวนความแปรผันภายในของต้นไม้ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า จำนวนสิ่งกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปรารถนาก่อให้เกิดความผิดปกติกับต้นไม้เพียงต้นเดียวเท่านั้น การเก็บชิ้นตัวอย่างไม้หลาย ๆ ชิ้นจากแหล่งหนึ่ง ๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะลดจำนวนของลักษณะที่ถูกรบกวนลง (ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างเช่นมลพิษทางอากาศ)

ใกล้เคียง

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ กาลานุกรมต้นไม้ กาลานุกรม กาลาทาซาไรสปอร์คูลือบือ (ฟุตบอล) กาลา (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2532) กาลามสูตร กาลีนา กาลาทาซาไรสปอร์คูลือบือ กาลาเดรียล กาลาก้า