กิลัด_ชาลิต
กิลัด_ชาลิต

กิลัด_ชาลิต

กิลัด ชาลิต (อังกฤษ: Gilad Shalit, ฮีบรู: גלעד שליט‎; เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2529) เป็นพลเมืองอิสราเอล-ฝรั่งเศส และทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เขาถูกจับตัว[1] ในอิสราเอลโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาสในการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนผ่านอุโมงค์ใต้ดินใกล้กับพรมแดนที่ติดต่อกับกาซา กลุ่มฮามาสจับตัวเขาอยู่นานกว่าห้าปี กระทั่งเขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554ชาลิตถูกลักพาตัวใกล้กับจุดผ่านแดนเคเล็มชาลอมในอิสราเอล และถูกจับเป็นตัวประกันโดยฮามาส ณ ตำแหน่งที่ไม่ทราบในฉนวนกาซา[2] วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับการปล่อยตัวในข้อตกลงให้อิสรภาพแก่เขาหลังถูกโดดเดี่ยวและควบคุมตัวนานกว่าห้าปี แลกกับนักโทษชาวปาเลสไตน์รวม 1,027 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนถูกตัดสินว่าฆาตกรรมและดำเนินการก่อการร้ายต่อพลเรือนอิสราเอล[3][4]ระหว่างการถูกควบคุมตัว ฮามาสปัดคำร้องจากคณะกรรมาธิการกาชาดสากล (ICRC) ที่ขออนุญาตเยี่ยมชาลิต โดยอ้างว่า ผู้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและแพทย์กาชาดอาจทรยศบอกตำแหน่งที่ฮามาสควบคุมตัวชาลิตไว้เป็นตัวประกัน ด้านผู้อำนวยการใหญ่กาชาด ยีฟส์ ดัคคอร์ ยืนกรานว่า "ครอบครัวชาลิตมีสิทธิตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่จะติดต่อกับบุตรชาย"[5]องค์การสิทธิมนุษยชนหลายแห่งว่า เงื่อนไขและข้อกำหนดการกักขังชาลิตนั้นขัดต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คณะผู้แทนศึกษาข้อเท็จจริงว่าด้วยความขัดแย้งกาซาสหประชาชาติ (United Nations Fact Finding Mission on the Gaza Conflict) ออกรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ซึ่งยังได้เรียกร้องการปล่อยตัวชาลิต[6] ในแถลงการณ์โดวิลล์วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มจี 8 ต้องการให้ปล่อยตัวกิลัด ชาลิต[7]เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวเขา ฮามาสเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ที่กำลังรับโทษจำคุกอยู่ในอิสราเอล เช่นเดียวกับชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกพิพากษาและกำลังรับโทษที่เป็นสตรีและที่อายุน้อยทั้งหมด สองปีถัดมา จุดติดขัดสำคัญในการเจรจา คือ การยืนกรานของฮามาสให้ปล่อยตัวมัรวาน บาร์กูฮ์ติ ซึ่งปัจจุบันกำลังรับโทษห้าปีในอิสราเอลข้อหาฆาตกรรม[8][9]ชาลิตซึ่งมียศสิบโทเหล่ายานเกราะของ IDF เมื่อครั้งที่เขาถูกลักพาตัวนั้น ได้รับการเลื่อนยศเป็นจ่าสิบตรี จ่าสิบโท และจ่าสิบเอกเมื่อถึงวันก่อนหน้าการปล่อยตัวของเขา[10] การติดต่อทางเดียวระหว่างชาลิตกับโลกภายนอกหลังการจับกุมและก่อนการปล่อยตัว มีจดหมายสามฉบับ เทปเสียง และดีวีดี ซึ่งอิสราเอลได้รับโดยแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์หญิง 20 คน[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กิลัด_ชาลิต http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=newsarchive... http://www.boiseweekly.com/boise/analysis-the-pale... http://www.haaretz.com/hasen/spages/1095523.html http://www.haaretz.com/print-edition/news/in-shali... http://www.israelnationalnews.com/News/News.aspx/1... http://www.jpost.com/DiplomacyAndPolitics/Article.... http://www.upi.com/Top_News/2009/06/23/Israel-deni... http://www.usatoday.com/news/world/2007-06-25-isra... http://www.whitehouse.gov/the-press-office/2011/05... http://www.ynet.co.il/articles/0,7340,L-3527495,00...