ผิวหนังของกิ้งก่า ของ กิ้งก่า

ผิวของกิ้งก่าเกือบทั้งหมดมีองค์ประกอบโปรตีน (เคราติน) และ lipids (ไขมัน) เกล็ดจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์และปกคลุมส่วนใหญ่ของ ร่างกายและแขนขา มันอาจประกอบด้วยส่วนที่เหมือนกัน ประกอบด้วยส่วนที่ต่างชนิดกัน (Bradypodion spp.), ลักษณะเป็นปุ่มคล้ายลูกปัด (Chamaeleo chamaeleon), ลักษณะหยาบ (หลากหลายสายพันธุ์ของกิ้งก่า Chameleons หางสั้น), หรือนิ่มลื่น (Furcifer willsii) หน้าที่เบื้องต้นของผิวหนัง ของกิ้งก่า คือการรักษาความสมบูรณ์มั่นคงของร่างกายมันเป็นแนวกั้น ในการปกป้องอวัยวะภายในและรักษา homeostasis (ความสมดุลของสารเคมีและอุณหภูมิร่างกายภายในที่เหมาะสม) มันยังถูกใช้เป็นสิ่งปิดบังพฤติกรรมซ่อนเร้นและเป็นอวัยวะหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสารอีกด้วย(เซลล์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนสี) นั้นไวและทำปฏิกิริยากับรังสี อินฟราเรด, UV, และบางส่วนของแถบคลื่นแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า, แต่บทบาทการปกป้องของ integument (หนังส่วนนอกของกิ้งก่า) มีความจำกัดต่อการรักษาน้ำภายในและการควบคุมอุณหภูมิ, ตามที่พวกมันไม่มีต่อม ผลิตไขมันที่สร้าง sebum (สารประกอบทางเคมีหนึ่งที่มีแบคทีเรียค่า pH ต่ำและเป็น ตัวป้องกันน้ำ)

กิ้งก่า ลอกคราบออกเป็นหลายชิ้น การลอกคราบมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเวลาการเจริญเติบโตว่ารวดเร็วหรือช้า กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนที่ลอกคราบผิวหนังชั้นนอกจะหลุดออกตามรอยต่อ ระหว่างเกล็ดหรือสะเก็ดหนังกำพร้า (squama) แล้วจึงแยกตัวออกจากผิวหนังที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ใต้ชิ้นหนังเดิมจะแห้งลงและแข็งขึ้นหลังจากนั้นก็จะหลุดออก ในการลอกคราบอาจใช้เวลาสองสามวันถึงจะเสร็จสิ้น แต่เมื่อบางส่วนของผิวหนังลอกออกไม่หมด กิ้งก่าจะถูออกโดยการใช้กิ่งไม้ และเพราะว่าการลอกผิวหนังบน เปลือกตาและจมูกอาจทำให้การมองเห็นมีปัญหา มันจึงพยายามลอกทิ้งอยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ กิ้งก่า ชอบที่จะลอกผิวหนังเพราะพวกมันมักจะกินคราบของตัวเองหรือตัวอื่น

เส้นประสาทรับความรู้สึกพบได้ในผิวหนังของกิ้งก่านอกจากความสามารถรับรู้ทางแสงและความร้อนแล้ว ผิวหนังชั้นนอกของพวกมันยังไวต่อการสัมผัสอีกด้วย[16]

  สามารถเปลี่ยนสีผิวตามอารมณ์นั้น ๆ ได้ ก็เนื่องมาจากลักษณะพิเศษของชั้นผิวหนัง และเม็ดสี ผิวหนังชั้นนอกเหล่านี้ตอบสนองต่อแสงและความร้อน ส่วนผิวหนังชั้นในจะตอบสนองต่อสารเคมี เป็นสาเหตุทำให้เซลล์มีการหดและขยายตัว อย่างเช่นในภาวะปกติผิวหนังของ คามิเลี่ยน จะแสดงสีเขียว ในขณะที่โกรธจะแสดงสีเหลือง 

[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กิ้งก่า http://www.petinthai.com/view_breeds.php?id=27 http://www.triphathara.com/view.php?id=2030 http://www.wired.com/2014/04/how-do-chameleons-cha... http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=... http://vet.kku.ac.th/physio/animal/n05/web1/index1... https://tar5112032.wordpress.com/2014/03/10/10-%E0... https://en.wikipedia.org/wiki/Brookesia_minima https://en.wikipedia.org/wiki/Gila_monster https://en.wikipedia.org/wiki/Horned_lizard https://en.wikipedia.org/wiki/Komodo_dragon