สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน ของ กีฬาแห่งชาติ_ครั้งที่_37

สัญลักษณ์การแข่งขัน คือเส้นสายแถบสีที่ร้อยเรียงกันเป็นรูป ไก่ชนพระนเรศวร โดยการนำภาพไก่ชนพระนเรศวรจัด องค์ประกอบกับตัวอักษร P (สีฟ้า) คืออักษรนำหน้าของจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok) มีการผสมผสานกับแถบโค้งให้สวยงามและดูเคลื่อนไหวให้เหมาะสมกับลักษณะการแข่งขันกีฬา แถบสีที่แตกต่างกันหมายถึงกลุ่มจังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขัน

  • แถบสีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ซึ่งหมายถึง กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือ
  • แถบสีเหลือง คือ สีแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งหมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง
  • แถบสีส้ม คือ สีแห่งความเจริญของอารยธรรมโบราณ หมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • แถบสีฟ้า คือ สีแห่งสภาพแวดล้อมของธรรมชาติท้องทะเล ซึ่งหมายถึงกลุ่มจังหวัดในภาคใต้
  • แถบสีม่วง คือ สีประจำจังหวัดพิษณุโลก อันเป็นสีที่หมายถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีที่มาจากสีม่วงเป็นสีผสมผสานระหว่างสีน้ำเงิน (สีแห่งความเป็นกษัตริย์) และสีแดง (คือสีแห่งความกล้าหาญ)

นอกจากนั้น การนำไก่ชนมาเป็นองค์ประกอบของสัญลักษณ์ ยังหมายถึงการแข่งขันกีฬาที่ต้องมีการต่อสู้เพื่อชัยชนะด้วยความกล้าหาญอีกด้วย

ใกล้เคียง

กีฬาแห่งชาติ กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 46 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 กีฬาแบดมินตันในซีเกมส์ 2017 – ประเภทบุคคล กีฬาแฮนด์บอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 – รอบคัดเลือกทีมชาย โซนเอเชีย กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 กีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 – หญิงเดี่ยว กีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 – ชายเดี่ยว