กุศลและอกุศล

กุศล หมายถึง บุญ ความดี ความฉลาด[1][2]ในทสุตตรสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่ารากเหง้าของกุศลมี 3 อย่าง คือ ความไม่โลภ ความไม่คิดประทุษร้าย และความไม่หลง[3]อกุศล หมายถึง บาป, ความชั่วร้าย,[4] ไม่เป็นมงคล,[5] ไม่ฉลาด, กรรมชั่ว ตรงกันข้ามกับ กุศล ซึ่งแปลว่า ความดีในสัมมาทิฏฐิสูตร พระสารีบุตรอธิบายว่า อกุศล คือรากเหง้าแห่งอกุศลข้างต้นเรียกว่า อกุศลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะพระสารีบุตรอธิบายสรุปว่า เมื่อใด พระอริยสาวกรู้ชัดอกุศลและรากเหง้าแห่งอกุศลอย่างนี้ รู้ชัดกุศลและรากเหง้าแห่งกุศลอย่างนี้ เมื่อนั้น ย่อมละอนุสัยคือราคะ บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ถอนอนุสัยคือทิฐิและมานะที่ว่า ‘เป็นเรา’ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้น แล้วเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันนี้เอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระอริยสาวกก็ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง มีความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้[6]