การจัดการเลี้ยงทั่วไป ของ กุ้งขาว

เกษตรกรต้องมีความรู้ทาง วิชาการในการจัดการเลี้ยงกุ้งขาว เช่น หลักกำหนดรูปแบบของฟาร์ม การแบ่งใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอย การสร้างโรงเรือน บริการเตรียมบ่อเลี้ยง วิธีการเลือกลูกกุ้งที่มีคุณภาพ การกำหนดความหนาแน่นของการเลี้ยง การติดตั้งเครื่องเพิ่มอากาศ เพื่อให้เกษตรกรสามารถจัดการเลี้ยงกุ้งโดยมีปัญหาน้อยที่สุด ตาราง คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งขาว คุณภาพน้ำ ระดับที่เหมาะสมอุณหภูมิ ๒๘-๓๒ องศาเซลเซียสออกซิเจนละลายน้ำ > ๕ มิลลิกรัม/ลิตรคาร์บอนไดออกไซด์ < ๒๐ มิลลิกรัม/ลิตรความเป็นกรด-ด่าง ๗.๐-๘.๓ความเค็ม ๐.๕-๓๕ ส่วนในพันส่วนคลอไรด์ < ๓๐๐ ส่วนในล้านส่วนโซเดียม < ๒๐๐ ส่วนในล้านส่วนความกระด้างรวม (ในรูป CaCO๓) > ๑๕๐ ส่วนในล้านสส่วนแคลเซียม (Calcium hardness ในรูป CaCO๓) > ๑๐๐ ส่วนในล้านสส่วนแมกนีเซียม (Magnesium hardness ในรูป CaCO๓) > ๕๐ ส่วนในล้านส่วนความเป็นด่างรวม (Total Alkalinity ในรูป CaCO๓) > ๑๐๐ ส่วนในล้านสส่วนแอมโมเนียอิสระ (NH๓) < ๐.๐๓ มิลลิกรัม/ลิตรไนไตรท์ (NO๒-) < ๑ มิลลิกรัม/ลิตรไนเตรท (NO๓-) < ๖๐ มิลลิกรัม/ลิตรเหล็กทั้งหมด (Total Iron) < ๑.๐ มิลลิกรัม/ลิตรไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H๒S) < ๒ ส่วนในพันล้านส่วนคลอรีน (Chlorine) < ๑๐ ส่วนในพันล้านส่วนแคดเมียม (Cadmium) < ๑๐ ส่วนในพันล้านส่วนโครเมียม (Cromium) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วนทองแดง (Copper) < ๒๕ ส่วนในพันล้านส่วนตะกั่ว (Lead) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วนปรอท (Mercury) < ๐.๑ ส่วนในพันล้านส่วนสังกะสี (Zinc) < ๑๐๐ ส่วนในพันล้านส่วนอัลดริน/ดีลดริน (Aldrin / Dieldrin) < ๐.๐๐๓ ส่วนในพันล้านส่วนบีเอชซี (BHC) < ๔ ส่วนในพันล้านส่วนคลอร์เดน (Chlordane) < ๐.๐๑ ส่วนในพันล้านส่วนดีดีที (DDT) < ๐.๐๐๑ ส่วนในพันล้านส่วนเอนดริล (Endrin) < ๐.๐๐๔ ส่วนในพันล้านส่วนเฮพตาคลอร์ (Heptachlor) < ๐.๐๐๑ ส่วนในพันล้านส่วนท๊อกซาฟีน (Toxaphene) < ๐.๐๐๕ ส่วนในพันล้านส่วน

รูปแบบของฟาร์ม กุ้งขาวเป็นกุ้งที่ปรับ ตัวเข้ากับการเลี้ยงแบบพัฒนาที่ปล่อยกุ้งหนาแน่นสูงได้ดีกว่ากุ้งกุลาดำ เกษตรกรจึงต้องมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในปริมาณมาก รูปแบบของฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มและ ปัญหาการจัดการและโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเลี้ยง ในบริเวณที่แหล่งน้ำมี คุณภาพสิ่งแวดล้อมดี มีปริมาณน้ำมากเพียงพอ เกษตรกรอาจจัดรูปแบบของฟาร์มเป็นฟาร์มเลี้ยงแบบพัฒนาระบบกึ่งเปิดที่มีการ ถ่ายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงระยะ ๒ เดือนสุดท้ายของการเลี้ยงที่กุ้งมีการเจริญเติบโตรวดเร็วและต้องให้อาหารใน ปริมาณมาก การถ่ายน้ำแนะนำให้ใช้น้ำทะเลสะอาดในบ่อพักน้ำเพื่อเจือจางน้ำในบ่อเลี้ยง กุ้งให้มีคุณภาพดีขึ้น และน้ำที่ถ่ายออกมาควรต้องผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนที่ระบายลงสู่ แหล่งน้ำ ในพื้นที่ที่มีฟาร์ม เลี้ยงกุ้งมาก และมีปริมาณน้ำจำกัด เกษตรกรสูบและทิ้งน้ำลงสู่บริเวณเดียวกัน ทำให้บางฤดูกาลสภาพแวดล้อมในพื้นที่เลี้ยงเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสม และมีโรคระบาด รูปแบบฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่เหมาะสมควรเป็นแบบพัฒนาระบบกึ่งปิด (เติมน้ำจากบ่อพักน้ำที่มีการบำบัดพื้นฟูคุณภาพน้ำหรือถ่ายน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อเวลาจำเป็นเพื่อปรับคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยง) รูปแบบฟาร์มประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป เนื่องจากแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่เสื่อมโทรมจากการเลี้ยงกุ้ง และมีการระบาดของโรคกุ้งอย่างต่อเนื่อง การเติมหรือถ่ายน้ำเท่าที่จำเป็นสามารถป้องกันโรคได้ดี แต่เกษตรกรต้องมีการปล่อยกุ้งในความหนาแน่นที่เหมาะสม การเตรียมบ่อ การจัดการเลี้ยงและการควบคุมสภาพแวดล้อมในระหว่างเลี้ยงที่ดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้น้ำที่ถ่ายออกมาควรผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนที่ระบายลง สู่แหล่งน้ำหรือหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ในฟาร์มที่มีพื้นที่เพียง พอ แต่อยู่ในแหล่งเลี้ยงที่สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และขาดแคลนน้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมในบางฤดูกาล รูปแบบฟาร์มเลี้ยงที่สามารถทำได้เป็นแบบพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งการเลี้ยงรูปแบบนี้เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่บ่อพักน้ำให้มากเพียงพอ สำหรับการถ่ายน้ำตามกำหนดการที่ได้เตรียมไว้ เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่บำบัดน้ำให้เพียงพอที่รองรับน้ำทิ้งปริมาณมากโดย ให้มีเวลาบำบัดน้ำนานเพียงพอ จนมีคุณภาพดีขึ้นและนำไปใช้ หรือเก็บในบ่อพักน้ำจนกว่าจะถึงเวลานำไปใช้เลี้ยงกุ้งใหม่อีกครั้ง

การแบ่งพื้นที่ใช้สอยในฟาร์ม เมื่อกำหนดรูปแบบของฟาร์ม แล้วเกษตรกรสามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอยได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปเกษตรกรจะต้องคำนึงพื้นที่ใช้สอยที่ช่วยให้เกษตรกรจัดการเลี้ยง กุ้งได้ผลดี ซึ่งควรประกอบด้วย บ่อเลี้ยง บ่อพักน้ำ โรงเรือนเก็บวัสดุฟาร์มและปัจจัยการผลิต บ้านพักคนงาน บ่อบำบัดน้ำทิ้ง และบ่อเก็บเลน ถนนและทางเดินภายในฟาร์ม พื้นที่ใช้สอยอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ บ่อเลี้ยง เป็นการใช้พื้นที่ที่มีความสำคัญที่สุด ขนาดของบ่อเลี้ยงควรมีขนาดที่ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป บ่อที่เล็กเกินไปความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำในรอบวันอยู่ในช่วงกว้างเนื่อง จากมีปริมาตรน้ำน้อยเกินไป บ่อที่ใหญ่จะจัดการยากเนื่องจากปริมาตรน้ำเยอะเกินไป ขนาดของบ่อที่เหมาะสม ควรมีขนาด ๒-๖ ไร่ ขึ้นกับความพร้อมและเครื่องมือของเกษตรกร สัดส่วนของบ่อเลี้ยงที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง ๕๐-๘๐% ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด โดยที่ฟาร์มที่มีพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ่อเลี้ยงมีน้อยลงเพราะต้องสงวนไว้ใช้ในกิจกรรมอื่นๆ


บ่อพักน้ำ เป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นมากในการลดความเสียและป้องกันโรคและแก้ไขปัญหาใน ระหว่างการเลี้ยงกุ้งได้ดี เพราะว่า น้ำในแหล่งเลี้ยงกุ้งที่หนาแน่น น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมกับแหล่งน้ำ และบ่อยครั้งไม่เหมาะสมต่อนำเข้าสู่บ่อเลี้ยงกุ้งโดยตรง เกษตรกรที่มีบ่อพักน้ำจะสามารถพักน้ำหรือปรับปรุงให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นก่อน ใช้ และสามารถสำรองน้ำทะเลที่มีคุณภาพดีไว้ใช้แก้ปัญหาฉุกเฉินในระหว่างการ เลี้ยงกุ้งได้ สัดส่วนของบ่อพักน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง ๑๕-๒๐% ของพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด หรือมีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๐.๕-๑ ของบ่อเลี้ยงกุ้งในฟาร์ม โรงเรือนเก็บวัสดุฟาร์มและปัจจัยการผลิต ฟาร์มเลี้ยงกุ้งจะต้องมีพื้นที่เก็บปัจจัยการผลิต วัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในฟาร์ม และน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อความเป็นระเบียบของสิ่งของเครื่องใช้ในฟาร์มให้สามารถนำไปใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบปริมาณได้ง่าย จึงบริหารจัดการควบคุมปริมาณได้ง่าย โรงเรือนที่ใช้เก็บของเหล่านี้ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้ทนทานต่อลมและฝน ไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในสภาวะที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ป้องกันแดดและฝนไม่ให้ปัจจัยการผลิตเสียคุณภาพไป การมีโรงเรือนทำให้มีการแยกสัดส่วนพื้นที่ในการเก็บปัจจัยการผลิตที่เป็น อันตราย ไว้ในที่ที่ปลอดภัยจากเด็กและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ บ้านพักคนงาน มีความจำเป็นเนื่องจากคนงานต้องอยู่อาศัยและปฏิบัติงานในฟาร์มทั้งกลางวัน กลางคืน จึงมีความสะดวกที่คนงานจะพักอาศัยในฟาร์ม ที่อยู่อาศัยต้องทำให้เป็นสัดส่วน มีระบบสาธารณสุขที่ดี หากจำเป็นต้องมีที่พักคนงานอยู่บนคันบ่อเลี้ยง จะต้องมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสะอาด และสุขอนามัยที่ดีในการเลี้ยงกุ้งได้มาตรฐานที่ดีตลอดไป ถ้าสุขอนามัยในบริเวณบ้านพักไม่ดี ทำให้เกิดโอกาสในการปนเปื้อนของสิ่งปฏิกูลลงสู่บ่อเลี้ยงได้ง่าย บ่อบำบัดน้ำทิ้งและบ่อเก็บเลน การเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ง่าย เนื่องจากน้ำทะเลที่ผ่านการใช้เลี้ยงกุ้งมีสารอินทรีย์ และธาตุอาหาร และของเสียในน้ำเพิ่มมากขึ้น พื้นบ่อก็จะเป็นแหล่งสะสมของเสีย จนทำให้ตะกอนดินที่สะสมกลางบ่อ อยู่ในสภาพดินเลนที่มีสารอินทรีย์สูงเน่าเสีย น้ำทิ้งโดยเฉพาะจากการจับกุ้งจะเป็นน้ำทิ้งที่มีสารอินทรีย์ และของเสียในปริมาณมากที่สุด และหลังจากการจับกุ้งเกษตรกรควรจะทำความสะอาดพื้นบ่อโดยลอกเลนกลางบ่อที่มาก เกินไปออกมา ดังนั้นการจัดแบ่งพื้นที่เลี้ยงกุ้งที่ดีและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม เกษตรกรจึงควรให้ความ สำคัญและสร้างบ่อบำบัดน้ำทิ้ง และบ่อเก็บเลน ซึ่งขนาดของบ่อบำบัดน้ำทิ้ง รวมทั้งคูน้ำทิ้ง ที่เหมาะสมควรมีปริมาตรไม่น้อยกว่าปริมาตรน้ำทิ้งที่เกิดขึ้นจากการจับกุ้ง ๑ บ่อ เพื่อสามารถรองรับน้ำทิ้งได้ทั้งหมด และพื้นที่ของที่เก็บเลนควรจะมีขนาดเพียงพอที่จะเก็บเลนเอาไว้ และขุดเป็นบ่อหรือยกคันเพื่อป้องกันการเลนถูกชะหลุดไปเวลาฝนตกหนัก ในกรณีที่เกษตรกรไม่มีพื้นที่ เกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่เลี้ยงติดกันอาจทำบ่อบำบัดน้ำทิ้งรวมเพื่อใช้ ร่วมกัน หรืออาจใช้วิธีการที่เหมาะสมนำบ่อพักน้ำมาใช้บำบัดน้ำทิ้งก็ได้ ถนนและทางเดินภายในฟาร์ม เป็นระบบสาธารณูปโภคที่เกษตรกรต้องจัดให้มีในฟาร์ม เพื่อความสะดวกสบายในการจัดการเลี้ยง การขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถนนและทางเดินให้มีความแข็งแรง ขนาดใหญ่และสะดวกเพียงพอที่รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก มอเตอร์ไซค์ รถเข็น ที่จะเข้าไปส่งหรือลำเลียงผลผลิตมายังจุดปฏิบัติการต่อไปในฟาร์ม หรือคนงานเดินปฏิบัติงานรอบบ่อได้ด้วยความปลอดภัย พื้นที่ใชสอยอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน บ้านที่อยู่อาศัยของเจ้าของฟาร์ม ลานคัดกุ้ง ที่จอดรถ โรงอาหาร สนามออกกำลังกาย ควรมีตามความจำเป็น จัดให้อยู่ในพื้นที่เหมาะสมและอยู่ในบริเวณที่สามารถจัดการดูแลระบบสาธารณ สุขของฟาร์มให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้