ก่องนม
ก่องนม

ก่องนม

ก่อง, ก่องนม บ้างเรียก ฉลองนม เป็นเครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับของสตรีชั้นสูงซึ่งปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนังในพื้นที่อาณาจักรล้านนา และบริเวณใกล้เคียง เพราะสตรีสามัญในสมัยโบราณจะเปลือยอกในชีวิตประจำวัน ด้วยมองว่าเป็นเพียงอวัยวะหนึ่งในร่างกาย หาใช่สิ่งยั่วกามารมณ์[1] ถ้าหากเป็นหญิงสูงศักดิ์จะสวมเครื่องประดับสวยงาม เพื่อแสดงสถานะสูงส่งของตนออกมาเป็นที่ประจักษ์[2][3] โดยก่องนมมีลักษณะคล้ายยกทรงแต่ผูกเชือกไว้ด้านหลัง ทำเป็นทรงรูปทรงกลมที่ทำจากวัสดุมีค่ารอบถันทั้งสอง ภายในเป็นตาข่ายโปร่ง เผยให้เห็นเนินเนื้อ แต่จะปิดส่วนหัวนมเอาไว้[2]ส่วนในคณะละครรำของคนไทยสยามในภาคกลางจะมีก่องนมอีกรูปแบบหนึ่ง ทำจากกะลามะพร้าวขัดมัน ลงรักปิดทองประดับกระจก ด้านในเย็บนวมกรุไว้ ผูกเชือกไว้ด้านหลังเพื่อให้นักแสดงสวมใส่[4]หลังการรับอิทธิพลยุควิกตอเรียเข้ามามีอิทธิพลในสยามตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ได้กำหนดให้สตรีแต่งกายอย่างมิดชิด โดยการหาผ้าแถบมาคาดนม ก่อนพัฒนาเป็นเปลนมเมื่อรับอิทธิพลจากชาติตะวันตก แล้วคลี่คลายเป็นเสื้อคอกระเช้าในเวลาต่อมา[1][5] กอปรกับนโยบายรัฐนิยมของจอมพล แปลก พิบูลสงครามในศตวรรษถัดมา ที่ปรับปรุงการแต่งกายให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทำให้การแต่งกายยุคเก่าพ้นสมัยไป[1]ก่องนม หรือ ฉลองนม ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยทัย (2544) ซึ่งมีฉากที่พระนางจิรประภาเทวี รับบทโดยเพ็ญพักตร์ ศิริกุล สวมฉลองพระองค์ก่องนมออกมารับเสด็จและถวายเครื่องบรรณาการแก่สมเด็จพระไชยราชาธิราช[6][7] ทำให้ก่องนมเป็นที่รู้จักและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในเวลาเดียวกัน[2]

ใกล้เคียง