ทำงานได้อย่างไร ของ ขดลวดเทสลา

เทสลาคอยส์ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หม้อแปลงแบบเรโซแนท์ มีความหมายทางฟิสิกส์ว่าหม้อแปลงนี้ทำงานที่ความถี่หนึ่งที่เกิดการ หลักการเรโซแนนท์เท่านั้น ไม่ใช่ทุกๆความถี่

คอยส์หรือขดลวดที่ทำให้เกิดประกายไฟฟ้าเป็นขดลวดตัวที่สอง สร้างขึ้นจากตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ และตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำก็คือขดลวด เพราะขดลวดก็คือตัวเหนี่ยวนำในตัวอยู่แล้ว ค่าของความเหนี่ยวนำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ จำนวนรอบ เส้นผ่าศูนย์กลาง และความยาวของขดลวด ทั้งตัวเหนี่ยวนำ ความจุไฟฟ้า และความต้านทาน ต้องมีค่าพอดี จึงจะทำให้เกิดความถี่เรโซแนนท์ขึ้นได้

เพื่อจะให้ขดลวดขดที่สองเกิดการเรโซแนนท์ พลังงานที่ป้อนให้กลับขดลวดขดที่สองจะต้องมีความถี่เดียวกัน กับความถี่ของขดลวดขดที่สอง เหมือนการเปรียบเทียบกับการตีระฆัง ถ้าเวลาตีระฆังด้วยไม้หรือฆ้อน เมื่อคุณตีเร็วหรือช้าเกินไปไม่สอดคล้องกับการสั่น ของระฆัง เสียงของระฆังจะไม่ดังกังวาน และดังไม่มากนัก แต่ถ้าคุณตีระฆังอย่างต่อเนื่องให้มีความถี่เดียวกับการสั่นของระฆัง จะได้เสียงที่กังวานและดังกระหึ่ม อันนี้คือปรากฎการณ์เรโซแนนท์

พลังงานของขดลวดที่สองมาจากขดลวดขดที่หนึ่ง ซึ่งวงจรของขดลวดขดที่หนึ่งประกอบด้วย

  • หม้อแปลงไฟแรงสูง
  • ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
  • ช่องว่าง (Spark gap)

ทั้งหมดต่อขึ้นเป็นวงจรออสซิลเลต เมื่อเปิดไฟ จ่ายกระแสให้กับวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟจะจ่ายไฟให้กับตัวเก็บประจุจนเต็ม ประจุจะวิ่งกลับไปมาระหว่าง ตัวเก็บประจุกับตัวเหนี่ยวนำ เมื่อมันมีพลังงานมากพอแล้ว ประจุจะสามารถวิ่งผ่านช่องว่างได้ ความถี่ของวงจรไฟฟ้า คำนวณได้จาก ค่าของตัวเก็บประจุ และค่าของความเหนี่ยวนำ ให้ปรับแต่งความถี่ทางขดลวดที่หนึ่งจนกระทั่งมีความถี่เดียวกับขดลวดขดที่สอง พลังงานจะถูกถ่ายโอนจากขดลวดขดที่หนึ่งข้ามไปยังขดลวดขดที่สอง และถูกขยายจนมีแรงดันไฟฟ้ามหาศาล มากพอที่จะสปาร์กออกจากปลายของขดลวด

อย่างไรก็ตามเทสลาคอยด์ที่มีแรงดันไฟฟ้าระดับสูงเป็นอันตรายอย่างมาก ไม่ควรยืนอยู่ใกล้บริเวณหรือสัมผัสโดน เพราะอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้