ขนมฝรั่งกุฎีจีน
ขนมฝรั่งกุฎีจีน

ขนมฝรั่งกุฎีจีน

ขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมไทยอย่างหนึ่ง ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี โดยเป็นขนมที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีน ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณใกล้เคียงกับโบสถ์ซางตาครู้ส โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านฝั่งธนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ที่นี่มาตั้้งแต่ยุคกรุงธนบุรีขนมฝรั่งกุฎีจีน เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสเช่นเดียวกับขนมไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง หรือลูกชุบ ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ตัวขนมเป็นตำรับของขนมแบบโปรตุเกส โดยใช้วัตถุดิบสามอย่าง คือ แป้งสาลี, ไข่เป็ด และน้ำตาลทราย ตีให้ส่วนผสมเข้ากันจนขึ้นฟูและเทลงแม่พิมพ์ โดยไม่ผสมผงฟู, ยีสต์ หรือสารกันบูด จากนั้นโรยด้วยลูกเกด, ลูกพลับอบแห้ง, ฟักเชื่อม และน้ำตาลทราย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขนมของจีน โดยชาวจีนเชื่อว่าเมื่อรับประทานฟักเชื่อมแล้วจะก่อให้เกิดความร่มเย็น ส่วนน้ำตาลทรายจะเกิดความมั่งคั่งไม่รู้จบเหมือนกับน้ำตาลทรายที่นับเม็ดไม่ได้ ส่วนลูกพลับอบแห้งและลูกเกด ก็เป็นผลไม้ที่มีราคาและมีคุณค่าทางอาหารอีกด้วย แล้วจึงนำไปเทใส่แม่พิมพ์แล้วอบจนสุกโดยใช้วิธีอบแบบโบราณด้วยเตาถ่าน รสชาติมีความกรอบนอก นุ่มใน เดิมที ขนมฝรั่งกุฎีจีนจะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญทางศาสนาและแจกจ่ายรับประทานกันเองในครอบครัวหรือชุมชน เช่น คริสต์มาส ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นจึงมีการทำออกมาขาย จนมีคำร้องคล้องจองกันของผู้ค้า เมื่อนำขนมออกไปเร่ขายเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ซื้อว่า "อ้อยจีนบางใหญ่ อ้อยไทยบางคูวัด ข้าวหลามตัดวัดระฆัง ขนมฝรั่งกุฎีจีน แม่เอ๊ย" อันบ่งบอกได้ถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองของอาหารพื้นถิ่นและการค้าขายในแถบนี้ ซึ่งในอดีตก็จะมีขายเฉพาะในช่วงปลายปีเท่านั้น อันตรงกับช่วงเทศกาลคริสต์มาส[1]ปัจจุบัน ที่ชุมนุมกุฎีจีนเหลือร้านที่ทำและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียงไม่กี่รายเท่านั้น[2]