ขบวนการกระทิงแดง

ขบวนการกระทิงแดง (อังกฤษ: Red Gaurs Movement) เป็นขบวนการฝ่ายขวาที่มีบทบาททางการเมืองในประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อตั้งโดย"กองบัญชาการรักษาความมั่นคงภายใน" เพื่อปราบคอมมิวนิสต์ ผู้นำกลุ่มเป็นทหารรับจ้างที่ทำงานกับหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐที่มีชื่อว่า พันเอกพิเศษ สุตสาย หัสดิน[1] (ยศในขณะนั้น) ที่ปรึกษาได้แก่ นาย เผด็จ ดวงดี สมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯ ที่เคยเข้าร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มาแล้วเช่นกันกองกำลังนี้เน้นการดำเนินการในรูปแบบกองกำลังบนถนน สร้างความหวาดกลัวให้กับคู่แข่งทางการเมือง มีบทบาทสำคัญในการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519ขบวนการกระทิงแดงเป็นกองเยาวชนของขบวนการนวพล[2] สีแดงเป็นสีของธงชาติไทยเดิม และถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติในธงชาติปัจจุบัน กลุ่มประกาศว่าคำขวัญคือ "แนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยมคอมมิวนิสต์"[2] คล้ายกับชตวร์มอัพไทลุง (SA) และชุทซ์ชตัฟเฟิล (SS) ของพรรคนาซีในประเทศเยอรมนีช่วงทศวรรษ 1930 สมาชิกขบวนการกระทิงแดงปลุกปั่นการต่อสู้ระหว่างนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายกับสหภาพแรงงาน[3] ในวันที่ 21 มีนาคม 2519 ขบวนการกระทิงแดงโยนระเบิดใส่การประท้วงฝ่ายซ้าย เป็นเหตุให้มีนักศึกษาเสียชีวิต 4 คน[4] ได้แก่ นายกมล แซ่นิ้ม นายนิพนธ์ เชษฐากุล นายแก้ว เหลืองอุดมเลิศ และนายธเนศร์ เขมะอุดม[5] สมาชิกคนสำคัญ อาทิ เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ สุชาติ ประไพหอม สมศักดิ์ ขวัญมงคล สมศักดิ์ มาลาดี

ใกล้เคียง

ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์ ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ขบวนการหมัดสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์