บทบาททางการเมือง ของ ขัตติยะ_สวัสดิผล

บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป

พลตรีขัตติยะเคยได้รับหน้าที่ในราชการการเมืองครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 ในฐานะนายทหารติดตามพลตรีสมบัติ รอดโพธิ์ทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และส.ส.พรรคพลังธรรม ในปีถัดมาได้ทำหน้าที่นายทหารติดตาม พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี และเป็นคณะทำงานของ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พ.ศ. 2541) และรองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2542)[5]

ในทางการเมืองในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เสธ.แดง ก็ได้แสดงบทบาทของตนเองออกมา ในตอนแรกได้วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน ทักษิณ ชินวัตร ในปัญหาการฆ่าตัดตอนในสงครามกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการปล้นปืนขึ้น ซึ่งเสธ.แดงเห็นว่าไม่ถูกต้อง รวมทั้งในประเด็นที่ เสธ. แดงได้วิพากษ์วิจารณ์ว่า ทักษิณ ชินวัตร ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์[6]

ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2551 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้ายึดทำเนียบรัฐบาล พลตรีขัตติยะก็ได้ไปปรากฏตัวใกล้ที่ชุมนุมด้วยโดยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าเข้ามาสังเกตการณ์ แต่ต่อมาไม่นาน พลตรีขัตติยะก็ได้เปลี่ยนท่าทีใหม่โดยสิ้นเชิง ได้แสดงท่าทีและวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มพันธมิตรฯ หลังจากการนำประเด็นเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นทางการเมือง ทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรได้วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกนิ่งเฉยในประเด็นเขาพระวิหาร โดยพลตรีขัตติยะ ในช่วงแรกได้ออกมาปกป้อง พลเอกอนุพงษ์ ทั้งในเรื่องประเด็นทุจริตรถเกราะยูเครน 8 ล้อ และประเด็นเรื่องเขาพระวิหาร ซึ่งพลตรีขัตติยะออกมาโต้แทนว่า พลเอกอนุพงษ์ ท่านหน่อมแน้ม จึงโดนตั้งคณะกรรมการสอบวินัย ซึ่งผลการสอบไม่มีความผิดแต่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ผู้บังคับบัญชา

ในเหตุการณ์ยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง เสธ.แดงได้วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ พลเอกอนุพงษ์ ในฐานะ ศอฉ. อีกครั้งว่าปล่อยให้พันธมิตรยึดสนามบินไม่ยอมนำกำลังออกมาช่วยรัฐบาลตามที่มีคำสั่งจาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปราบปรามกลุ่มพันธมิตร นอกจากนี้ยังนำผู้นำเหล่าทัพไปให้สัมภาษณ์ช่อง 3 ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ บอกให้ นาย สมชาย วงษ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยหลังจากจุดๆนี้เป็นต้นไป พลตรีขัตติยะได้ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกลุ่มพันธมิตรและพลเอกอนุพงษ์ จนกระทั่งถูกคำสั่งพักราชการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ในข้อหาวิพากษ์วิจารณ์ผู้บังคับบัญชา ซึ่งเสธ.แดงไม่ยอมรับ โดยอ้างว่ากองทัพไม่มีอำนาจในการสั่งพักราชการตน เนื่องจากตนเป็นถึงนายทหารระดับนายพล[7]

ต่อมา พลตรีขัตติยะก็ได้ประกาศตัวว่า จะช่วยทำหน้าที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กลุ่มนปช. โดยตระเวนไปปราศรัยที่เวทีคนเสื้อแดงทั่วประเทศให้ความรู้ทางการเมืองแก่กลุ่มเสื้อแดงตามจังหวัดต่างๆ โดยได้มีกลุ่มทหารพรานอาสามาช่วย เสธ.แดง ในการรักษาความปลอดภัยให้กลุ่มเสื้อแดง ซึ่งในเรื่องนี้ทำให้กลายเป็นประเด็นปัญหาปะทะคารมกับ พลเอกอนุพงษ์ ทางสื่อมวลชนติดต่อกันหลายสัปดาห์ โดยทำให้นายทหารระดับสูงในหลายส่วนของกองทัพบกได้ออกมาวิจารณ์การกระทำของ พลตรีขัตติยะ กล่าวหาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาคือพลเอกอนุพงษ์ รวมทั้งได้แสดงออกถึงการร่วมใจปกป้องศักดิ์ศรีของกองทัพด้วย[8]

ในทางการเมือง พลตรีขัตติยะได้มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ในชื่อ พรรคเสธ.แดง เพื่อลงเลือกตั้งในปลายปี 2550 โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แยกอำนาจสอบสวนออกจากตำรวจและตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาดูแลแทน โดยตำรวจมีหน้าที่จับกุมและส่งตัวมาให้หน่วยงานสอบสวน แต่ไม่ได้รับการรับรองให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยนางสดศรี สัตยะรรม ให้เหตุผลว่าเป็นชื่อบุคคลไม่สามารถนำมาตั้งชื่อพรรคได้ โดยส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยเรื่องชื่อพรรคนี้เรื่องค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ 2 ปีเต็มไม่มีความคืบหน้า เพราะมีเรื่องเร่งด่วนรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอีกหลายเรื่อง จึงขอถอนเรื่องออกมาและมาจัดตั้งใหม่ ในนามว่า พรรคขัตติยะธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระราชา

พรรคขัตติยะธรรม

พรรคขัตติยะธรรม (อังกฤษ: Khattiyatham Party) (อักษรย่อ: ข.ต.ธ.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 โดยการสนับสนุนของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล โดยมี ว่าที่ร้อยตรี สุรภัศ จันทิมา เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก[9] ต่อภายหลังการเสียชีวิตของ เสธ.แดง บุตรสาวของ เสธ.แดง จึงได้เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค และมีนายอมฤตณรงค์บุตย์ สุรพันธ์ เป็นเลขาธิการพรรค [10]

ต่อมาใป พ.ศ. 2554 นางสาวขัตติยา สวัสดิผล ได้ลาออกจากพรรค เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย จึงทำให้ตำแหน่งหัวหน้าพรรคว่างลง และพรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขัตติยะ_สวัสดิผล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://rb-story.blogspot.com/ http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=85153 http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=87448 http://www.youtube.com/watch?v=6qcMJDBhJ7A http://www.oknation.net/blog/ganning/2010/05/17/en... http://www.sae-dang.net http://www.eco.ru.ac.th/becon/Person/Kattiya.pdf http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?...