สัตว์มีกระดูกสันหลัง ของ ขากรรไกร

ในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก ขากรรไกจะเป็นกระดูกหรือกระดูกอ่อน ประกบกันทางด้านบน-ล่าง จึงมีขากรรไกรบนและล่างพัฒนาการ/วิวัฒนาการมาจากส่วนโค้งคอหอย (pharyngeal arch) หน้าสุดสองชุดซึ่งค้ำเหงือก ปกติมีฟันหลายซี่

ปลา

ขากรรไกของสัตว์มีกระดูกสันหลังน่าจะวิวัฒนาการขึ้นในยุคไซลูเรียน ซึ่งปรากฏในปลามีเกราะ แล้วหลายหลากยิ่งขึ้นในยุคดีโวเนียนส่วนโค้งคอหอยหน้าสุดสองชุดเชื่อว่าได้กลายเป็นขากรรไกรและส่วนโค้งกระดูกไฮออยด์ (hyoid arch) ตามลำดับระบบกระดูกไฮออยด์แขวนขากรรไกรไว้กับกระดูกหุ้มสมอง ทำให้ขยับขากรรไกรได้อย่างสะดวกแม้จะไม่มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ แต่ก็เข้ากับสิ่งที่เห็นว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร (อินฟราไฟลัม Gnathostomata) มีส่วนโค้งคอหอยเพียงแค่ 7 ชุด แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไร้ขากรรไกร (ปลาไม่มีขากรรไกร) มี 9 ชุด

ประโยชน์ของขากรรไกรที่ได้คัดเลือกในเบื้องต้นอาจไม่เกี่ยวกับการกิน แต่ทำให้หายใจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น[1]คือใช้เป็นปัมพ์ (buccal pump ดังที่เห็นในปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกปัจจุบัน) ส่งน้ำไปที่เหงือก (ปลา) หรือส่งอากาศไปที่ปอด (สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก)แล้วในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นขากรรไกรดังที่เห็นในมนุษย์เพื่อใช้กินอาหาร ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญมากในสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนปลา teleost (infraclass Teleostei) หลายชนิดมีขากรรไกรที่วิวัฒนาการเพื่อดูดกิน และเพื่อยื่นขากรรไกรออก จึงเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนมากและมีกระดูกที่เกี่ยวข้องเป็นโหล ๆ[2]

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีก

ขากรรไกของ tetrapod (superclass Tetrapoda) ง่ายกว่าของปลามากเพราะกระดูกขากรรไกส่วนบนต่าง ๆ (คือ premaxilla, maxilla, jugal, quadratojugal และ quadrate) ได้เชื่อมยึดกับกระดูกหุ้มสมอง และกระดูกขากรรไกรล่างต่าง ๆ (dentary, splenial, angular, surangular และ articular) ได้เชื่อมเป็นหน่วยเดียวกันโดยเรียกว่า ขากรรไกรล่าง (mandible)ขากรรไกรทั้งสองเชื่อมเป็นข้อที่กระดูก quadrate กับ articularและสามารถขยับกระดูกต่าง ๆ มากน้อยต่างกันแล้วแต่สัตว์สัตว์บางสปีชีส์มีกระดูกขากรรไกรที่เชื่อมเข้าด้วยกันโดยสิ้นเชิง บางสปีชีส์มีข้อต่อให้เคลื่อนกระดูก dentary, quadrate หรือ maxilla ได้ส่วนงูสามารถขยับขากรรไกรได้มากที่สุด ทำให้สามารถกลืนเหยื่อขนาดใหญ่ได้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีขากรรไกรล่าง (mandible) และขากรรไกรบน (maxilla)ส่วนเอปมีโครงสร้างทำให้ขากรรไกรล่างแข็งแรงขึ้นที่เรียกว่า simian shelf ซึ่งมนุษย์ปัจจุบันไม่มีในวิวัฒนาการของขากรรไกรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกสองชิ้น (คือ articular ของขากรรไกรล่าง และ quadrate ของขากรรไกรบน) ได้ลดขนาดลงแล้วรวมเข้าเป็นส่วนของหู และมีกระดูกอีกจำนวนหนึ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน[3]ดังนั้น จึงขยับกระดูกต่าง ๆ ได้ไม่ดี และขากรรไกรล่างจึงเชื่อมกับกระดูกขมับด้วยข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint)มีโรคสามัญที่ข้อต่อนี้เรียกว่า temporomandibular joint dysfunction (การทำหน้าที่ผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร) ซึ่งมีอาการเจ็บ ส่งเสียงเมื่อขยับ และขยับขากรรไกรล่างไม่สะดวก[4]