ขาชัยปุระ
ขาชัยปุระ

ขาชัยปุระ

เท้าชัยปุระ (อังกฤษ: Jaipur foot, ฮินดี: जयपुर पांव; ชยปุร ปามฺว) หรือ ขาชัยปุระ (อังกฤษ: Jaipur leg) เป็นขาเทียมจากยางสำหรับผู้ที่ตัดขา ตั้งแต่ใต้ระดับเข่าลงไป ถึงแม้ว่าขาชัยปุระจะด้อยกว่าในหลายแง่ เมื่อเทียบกับขาเทียมจากคาร์บอนไฟเบอร์ แต่เนื่องจากสามารถปรับใช้ได้หลากหลาย และมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่ามาก ขาชัยปุระจึงเป็นขาเทียมที่ได้รับการยอมรับขาชัยปุระเป็นผลงานออกแบบและพัฒนาโดยราม จันทระ ชาร์มา (Ram Chandra Sharma) และแพทย์ออร์โทพีดิกส์ พี. เค. เสฐี ในปี ค.ศ. 1968 ซึ่งในเวลานั้นกำลังดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาออร์โทพีดิกส์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์สวาอี มาน สิงห์ ในชัยปุระ[1] ขาเทียมแบบที่มีอยู่เดิมไม่สามารถใช้นั่งยองหรือทำงานในนาข้าวเปียกแฉะได้ จึงได้คิดค้นพัฒนาขาชัยปุระขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ซึ่งพบได้ทั่วไปในผู้ใช้ขาเทียมยากไร้ในพื้นที่ชนบทของอินเดียขาชัยปุระประกอบด้วยเข่าทำจากไม้ และส้นทำจากยาง ผนังชั้นนอกบาง ๆ เป็นคอร์ดยางรถ (tire cord) ซึ่งทำมาจากยาง[2] โดยดัดแปลงมาจากรูปแบบของขาเทียม SACH[3]ขาชัยปุระ ไม่มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้มีขาชัยปุระหลายรูปแบบ ทั้งนี้ ขาชัยปุระมีอายุการใช้งานราว 2–5 ปี[4] ในประเทศอินเดียมีบริการทำขาชัยปุระแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยองค์กรการกุศลภควันมหาวีร วิกลังสหยตสมิตี (BMVSS) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยทเวนทระ ราช เมห์ตา ภายใต้การสนับสนุนด้านการเงินโดยรัฐบาลอินเดีย[5] นอกจากนี้ ยังมีการใช้ขาชัยปุระในพื้นที่ยากไร้อื่น ๆ เช่น ในสงครามอัฟกานิสถาน