ความสิ้นสุดบทบาทของขุนช้าง ของ ขุนช้าง

ต่อมาพระไวยต้องการให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมา ขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต แม้พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน

หลังงานศพของนางวันทอง ขุนช้างก็อาลัยในตัวนางวันทอง และตัดสินใจออกบวชเป็นเณร* ที่วัดตะไกร และค้างอยู่ 3 คืน จากนั้นจึงสึกกลับไปเมืองสุพรรณ ดังตัวบทที่กล่าวไว้ว่า

"... ขุนช้างนึกมาศรัทธามี วิ่งรี่เข้าไปหาพระหมื่นไวยบอกว่าดีฉันจะบวชตัว ทูนหัวช่วยบวชเป็นเณรให้พระไวยบอกว่าข้าจนใจ พึ่งบวชใหม่สวดเรียนก็ไม่รู้ขุนช้างวางมาจากพระไวย เข้าไปกราบไหว้หลวงตาหนูได้เอ็นดูแก่ฉันเถิดท่านครู บวชเณรเถรตู้ให้ฉันที

... 

จบแล้วห่มดองครองผ้า รับศีลออกมาหาช้าไม่นอนค้างอยู่กุฎีที่วัดตะไกร ครบสามคืนสึกไปเมืองสุพรรณ ..."

(เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน 2555 : 694 - 695)

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2555.