ในทางวิชาการ ของ ขุนบรม

นักวิชาการหลายท่านได้นับถือว่านิทานของขุนบรมได้อธิบายการอพยบของกลุ่มชาวไทจากดินแดนจีน(เปรียบเทียบเป็นสวรรค์ในตำนาน)ไปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(เปรียบเทียบเป็นดินแดนใหม่) ระบบของการแบ่งและขยายอาณาจักรสำหรับพระโอรสทั้ง ๗ ในตำนาน ก็แสดงให้เห็นถึงการบริหารองค์กรหมู่บ้านของชาวไทโบราณ หมู่บ้านเหล่านั้นเรียกว่า "เมือง"

ราชวงศ์ขุนบรมมหาราชา

ราชวงศ์ขุนบรมมหาราชา กษัตริย์ของอาณาจักรน่านเจ้า(อ้ายลาว)นั้นได้มีพระโอรส ๙ องค์ และ ๗ ใน ๙ นั้นได้ครองเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรต่างๆในบริเวณที่เรียกว่า "แหลมทอง" ได้แก่:

  1. ขุนลอ (อ้ายลอ)ปกครองเมืองชวา (ปัจจุบันหลวงพระบาง)
  2. ขุนผาล้าน (ยี่ผาล้าน)ปกครองเมืองสิบสองปันนา
  3. ขุนจุลง (สามจุลง)ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม (ปัจจุบันเวียดนาม) จัมปา แปลว่า ช่องบัว โกฐแบบช่องบัว
  4. ขุนคำผง (ไสคำผง) ปกครองเมืองเชียงใหม่
  5. ขุนอิน (งั่วอิน) ปกครองเมืองศรีอยุธยา
  6. ขุนกม (ลกกม) ปกครองเมืองหงสาวดี (อินทรปัต)
  7. ขุนเจือง (เจ็ดเจือง) ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง)

พญามังรายจากเมืองเชียงใหม่และพระเจ้าอู่ทองจากเมืองศรีอยุธยาได้รับคำนับถือว่าเดิมทีแล้วมาจากราชวงศ์ขุนบรมของลาว.

นักวิชาการ David K. Wyatt เชื่อว่าตำนานของขุนบรมสามารถช่วยให้ความเข้าใจลึกซึ้งประวัติศาสตร์ของชาวไทโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ตำนานของขุนบรมหลายรุ่นเกิดขึ้นนานที่สุดเมื่อ พ.ศ. ๑๒๔๑ ในเชียงขวาง และอาณาจักรกลุ่มคนที่พูดกลุ่มภาษาไท ก็มีการสร้างอาณาจักรต่างๆ ในปีหลัง จาก พ.ศ. นั้น ข้อมูลนี้สามารถอธิบายการขยายตัวของกลุ่มชาวไท และสามารถให้เหตุผลที่เป็นตำนานว่าทำไมชาวไทถึงแยกกันอยู่แบบนี้ นักวิเคราะห์ผู้ชำนาญด้านภาษาได้วิเคราะห์ว่าการแบ่งกลุ่มของชาวไทโบราณเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๗ และ ๑๑ การแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นคู่กันกับเส้นภูมิภาคคล้ายกับการแบ่งแยกในตำนานของขุนบรม และกลุ่มไทได้อพยบออกมาจากแผ่นดินที่เคยอาศัยมานานในเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งในบริเวณนั้นก็ยังมีคนพูดกลุ่มภาษาไทอยู่ ที่อาจจะแยกตัวออกมาก่อนกลุ่มอืนในประวัติศาสตร์แล้ว.