ข่าวปลอม

ข่าวหลอก หรือ ข่าวปลอมเป็นหนังสือพิมพ์เหลือง (yellow journalism) หรือการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งประกอบด้วยสารสนเทศผิดหรือเรื่องหลอกลวงอย่างจงใจ ไม่ว่าจะเผยแพร่ผ่านสื่อข่าวตีพิมพ์ การแพร่สัญญาณตามปกติ หรือสื่อสังคมออนไลน์[1][2] ข่าวหลอกมักถูกเขียนและพิมพ์เผยแพร่ โดยมีความประสงค์เพื่อชักนำบุคคลในทางที่ผิด เพื่อสร้างความเสียหายต่อหน่วยงาน นิติบุคคลหรือบุคคล และ/หรือ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงินหรือเพื่อชักจูงการเมือง[3][4][5] ผู้สร้างข่าวหลอกมักใช้ข้อความพาดหัวในลักษณะเร้าอารมณ์ หลอกลวงหรือกุขึ้นทั้งหมดเพื่อเพิ่มยอดผู้อ่าน การแบ่งปันออนไลน์และรายได้จากคลิกอินเทอร์เน็ต ซึ่งในกรณีหลัง คล้ายกับพาดหัว "คลิกเบต" ออนไลน์เร้าอารมณ์และอาศัยรายได้จากการโฆษณาจากกิจกรรมนี้ โดยไม่สนใจว่าเรื่องที่พิมพ์นั้นจะถูกต้องหรือไม่ นอกจากเหตุผลทางเศรษฐกิจแล้ว การสร้างและเผยแพร่ข่าวหลอกอาจมีการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบเพื่อหวังผลทางการเมือง และใช้เทคนิคบิดเบือนหรือการชักจูงทางจิตวิทยา เช่น การ "แกสไลท์" หรือการสร้างทฤษฎีสมคบคิด เพื่อให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความสับสน หรือตั้งคำถามกับข้อเท็จจริงหรือข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่.ข่าวหลอกที่จงใจชักจูงในทางที่ผิด (manipulative) และหลอกลวงแตกต่างจากการเสียดสีหรือการล้อชัดเจน ซึ่งตั้งใจสร้างความตลกขบขันไม่ใช่ชักจูงผู้ชมให้เข้าใจผิด ข่าวหลอกมีความใกล้ตัวมากขึ้นในการเมืองภายหลังความจริง (post-truth politics) สำหรับผู้ประกอบกิจการสื่อที่ขาดจริยธรรม ความสามารถในการดึงดูดผู้ชมเข้าเว็บไซต์ มีความจำเป็นต่อการสร้างรายได้การโฆษณาออนไลน์โดยรวม จึงมีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่จะเผยแพร่เนื้อหาหลอกลวงที่สามารถดึงดูดผู้ใช้ ปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของข่าวปลอม เช่น การผลิตเนื้อหาเพื่อเรียกบริษัทโฆษณาและเรตติง การเข้าถึงรายได้โฆษณาออนไลน์อย่างง่าย แนวโน้มที่สูงขึ้นของการแบ่งแยกทางการเมือง และความนิยมของเครือข่ายสื่อสังคม[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟีดข่าวเฟซบุ๊ก หรือทวิตเตอร์ล้วนมีส่วนในการแพร่ระบาดของข่าวหลอก[3][6] ซึ่งมาแข่งขันกับเรื่องข่าวที่ถูกต้อง ตัวการรัฐบาลของศัตรูก็เข้ามาเกี่ยวข้องในการสร้างและโฆษณาข่าวหลอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการเลือกตั้ง[7] อย่างเช่น การแทรกแทรงของกลุ่มแฮ็กเกอร์สัญชาติรัสเซีย ในการเลือกตั้งทั่วไปของสหรัฐอเมริกาในปี 2016ข่าวหลอกยังบั่นทอนการทำข่าวของสื่อจริงจังและทำให้นักหนังสือพิมพ์เขียนข่าวสำคัญได้ยากขึ้น[8] บัซฟีดวิเคราะห์พบว่าเรื่องข่าวหลอกสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559 ได้รับผู้ชมบนเฟซบุ๊กมากกว่าเรื่องข่าวสูงสุด 20 อันดับเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อใหญ่อีก 19 แห่ง[9] เว็บไซต์ข่าวหลอกที่บุคคลนิรนามเป็นเจ้าของซึ่งขาดผู้จัดพิมพ์เผยแพร่เท่าที่ทราบถูกวิจารณ์ เพราะทำให้การดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาททำได้ยาก[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข่าวปลอม http://www.cnn.com/2016/12/05/opinions/suing-fake-... http://abcnews.go.com/Technology/fake-news-stories... http://www.univision.com/noticias/america-latina/e... http://www.politico.eu/article/fake-news-busters-g... https://www.merriam-webster.com/words-at-play/the-... https://www.theguardian.com/media/2016/dec/18/what... https://www.theguardian.com/technology/2016/nov/29... https://www.usnews.com/opinion/thomas-jefferson-st... https://www.wired.com/story/free-speech-issue-tech...