ประวัติ ของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง_กิจการโทรทัศน์_และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช (รัชกาลที่ 5) หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ กสทช.

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ การจัดตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น และในช่วงเวลาเดียวกันการสื่อสารทางโทรเลขเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมโทรเลขขึ้นด้วย โดยได้รับช่วงงานโทรศัพท์จากกรมกลาโหม ต่อมากิจการไปรษณีย์และโทรเลขต้องอาศัยซึ่งกันและกัน มีความสอดคล้องกันอย่างใกล้ชิด ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมทั้งสองเข้าด้วยกันเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีพระองค์แรก[5]

นับแต่นั้นมากิจการไปรษณีย์โทรเลขทั้งในและต่างประเทศได้เจริญพัฒนามาเป็นลำดับ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของการติดต่อสื่อสารทั่วราชอาณาจักร หลังจากที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ (UPU) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ทำให้มีการประสานงานเชื่อมต่อการให้บริการระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีบริการหลัก 3 ด้าน ได้แก่ บริการไปรษณีย์ บริการการเงิน และบริการโทรคมนาคม โดยเฉพาะส่วนงานด้านโทรคมนาคมมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในกรมไปรษณีย์โทรเลข มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารหลายฉบับ มีการปรับองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพการณ์หลายครั้ง และมีการแยกงานสำคัญ ๆ ออกไปจัดตั้งเป็นหน่วยบริการหลายหน่วย เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นมีโอกาสพัฒนาสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์กรและสนองตอบความต้องการของประชานชนได้อย่างเพียงพอ ได้แก่

ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 จึงมีการแยกส่วนงานของกรมไปรษณีย์โทรเลขอีกครั้ง คือ[5]

  • งานระดับปฏิบัติการทางด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม แยกไปขึ้นอยู่กับรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการด้านการสื่อสารแก่สาธารณะ ทั้งบริการไปรษณีย์ โทรคมนาคม และบริการการเงิน
  • กรมไปรษณีย์โทรเลขรับผิดชอบงานนโยบาย และมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 อันเกี่ยวข้องกับ การบริหารคลื่นความถี่วิทยุ งานนโยบาย งานวิชาการ งานวิจัยพัฒนา และงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในประเทศและระหว่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงกิจการ

เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 การโอนกิจการไปสู่การเป็นคณะกรรมการทั้ง 2 องค์กร มีดังต่อไปนี้

  • 19 มกราคม พ.ศ. 2545 หลังจากมีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกา ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พุทธศักราช 2545 แล้ว ดังนั้น กรมฯ จึงได้โอนถ่ายบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงานทั้งหมด ไปเป็น สำนักงาน กทช. ส่วนในด้านกิจการไปรษณีย์ และเงินงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ไปเป็นหน้าที่ของ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในมาตรา 82, 83, 84
  • ส่วนในด้านของกรมประชาสัมพันธ์ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ งบประมาณ การปฏิบัติงานทั้งหมด ในส่วนของกองงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ไปเป็น สำนักงาน กสช. ส่วนในด้านงบประมาณทั้งเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการกับลูกจ้างซึ่งยังมีผลครอบครองอยู่ พร้อมกับกลุ่มบุคคลเดิม ให้ยังคงไว้กับกรมประชาสัมพันธ์อยู่เช่นเดิม ในมาตรา 85, 86

ทั้งนี้ กรมไปรษณีย์โทรเลข ถูกยุบเลิกไปเป็น สำนักงาน กทช. ตามกฎหมายพระราชกฤษฎีกายุบกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็ได้มีการโอนกิจการไปรษณีย์ พ้นจากกรมฯโดยทันที หลังวันเปลี่ยนผ่านไปสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น (ทั้งนี้ การแปรสภาพไปเป็นองค์กรใหม่โดยสมบูรณ์นั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) ส่วนงานด้านโทรเลข ก็ได้ดำเนินการจนถึงปี พ.ศ. 2551 โดยขึ้นกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

แต่ต่อมา พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีการประกาศบังคับใช้ ทำให้มีการรวมคณะกรรมการทั้งสอง คือ กทช. และ กสช.ไปจัดตั้งใหม่เป็น กสทช. แทน ในวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกันพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทำให้สถานะของ กทช. ต้องยุติลง และจัดตั้ง กสทช. ขึ้นแทน

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง_กิจการโทรทัศน์_และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/775976 http://wikithai.com-th.com http://www.thailandpost.com/about_history.asp http://www.thansettakij.com/content/330469 http://www.aerothai.co.th/thai/history_th.php http://www.tot.co.th/index.php?option=com_content&... http://www.nbtc.go.th http://www.nbtc.go.th/phocadownload/notification/n... http://www4.nbtc.go.th http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/...