อำนาจหน้าที่ ของ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

  1. จัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
  2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ
  3. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
  4. กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  5. กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่รัฐวิสาหกิจ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
  6. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการและการจัดสรรเงินชดเชยให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้แผนพัฒนารัฐวิสาหกิจตามมาตรา 28
  7. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 29
  8. กำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 33
  9. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองกรรมการรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 34
  10. กำกับดูแลกระทรวงเจ้าสังกัดให้ติดตามรัฐวิสาหกิจในกำกับดำเนินการตามแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
  11. เสนอแนะให้มีการตราหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจต่อคณะรัฐมนตรี
  12. ออกประกาศเพื่อกำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์ ตลอดจนวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
  13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ คนร. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน