คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (อักษรย่อ คปก.) คือ องค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ มาตรา 81 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[1] ซึ่งเป็นการบัญญัติไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐว่าด้วยกฎหมายและการยุติธรรม ที่กำหนดให้ รัฐต้องจัดทำกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ที่ดำเนินการเป็นอิสระ ในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนั้นประกอบด้วยในเวลาต่อมา ได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2553[2] ขึ้น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 มีผลทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายขึ้นในประเทศไทย โดยองค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่กฎหมายบัญญัติไว้องค์กรปฏิรูปกฎหมาย จะมีรูปแบบเป็นคณะกรรมการ เรียกว่า "คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย" โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เป็นหน่วยงานด้านธุรการของคณะกรรมการ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและบังคับบัญชาของส่วนราชการ แต่อยู่ภายใต้กำกับและบังคับบัญชาของประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มีเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานสำนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย สิ้นสุดลงตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๑/๒๕๕๙ เรื่อง การยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสภาพัฒนาการเมือง และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559[3]

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่