คณะกรรมการวอร์เรน

คณะกรรมการประธานาธิบดีว่าด้วยการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี (อังกฤษ: The President's Commission on the Assassination of President Kennedy) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า คณะกรรมการวอร์เรน (อังกฤษ: Warren Commission) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 โดย ลินดอน บี. จอห์นสัน เพื่อสอบสวนเหตุการณ์การลอบสังหารประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963[1] รายงานฉบับสุดท้ายหนา 888 หน้า ถูกเสนอต่อประธานาธิบดีจอห์นสันเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1964[2] และถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะในอีกสามวันให้หลัง รายงานดังกล่าวสรุปว่า ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ เป็นผู้ลงมือเพียงลำพังในการสังหารเคนเนดี และทำให้ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส จอห์น คอนแนลลี[3] ได้รับบาดเจ็บ และแจ็ก รูบี ลงมือเพียงลำพังในการฆาตกรรมออสวอลด์[4] ผลวินิจฉัยของคณะกรรมการมีการโต้แย้งกันมานับแต่นั้น และมีการศึกษาในภายหลังทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้านคณะกรรมการดังกล่าวได้ชื่อวอร์เรน อันเป็นชื่อไม่เป็นทางการ มาจากประธานคณะกรรมการ ประธานศาลสูงสุดเอิร์ล วอร์เรน ตามบทสำเนาการสนทนาทางโทรศัพท์ประธานาธิบดีของจอห์นสัน เจ้าหน้าที่ข้ารัฐการคนสำคัญบางคนคัดค้านการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าว และสมาชิกคณะกรรมการหลายคนเข้าร่วมด้วยความไม่เต็มใจอย่างยิ่ง[5] หนึ่งในเหตุผลหลักคือ คณะกรรมการดังกล่าวท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เกิดข้อโต้เถียงมากยิ่งขึ้นกว่ามติเห็นพ้อง และสิ่งที่เกรงกันนั้นก็กลายเป็นจริง[5] รายงานของคณะกรรมการได้รับการตีพิมพ์ที่บริษัทจัดพิมพ์หนังสือ ดับเบิลเดย์ ซึ่งตั้งอยู่ในสมิทเบิร์ก รัฐแมริแลนด์[6]

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่