คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน

คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน

คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง (อังกฤษ: Politburo Standing Committee; PSC) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองแห่งคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (อังกฤษ: Standing Committee of the Political Bureau of the Central Committee of the Communist Party of China) เป็นคณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในอดีตจะประกอบด้วยสมาชิก 5–11 คน แต่ในปัจจุบันมีสมาชิกเจ็ดคน วัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการคือ เพื่อดำเนินการหารือเกี่ยวกับนโยบายและตัดสินใจในประเด็นสำคัญ เมื่อคณะกรมการเมืองซึ่งเป็นหน่วยงานตัดสินใจที่ใหญ่กว่าไม่อยู่ในการประชุม ตามรัฐธรรมนูญของพรรค เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะต้องเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการประจำกรมการเมืองด้วย[3]ตามรัฐธรรมนูญของพรรค คณะกรรมาธิการกลางพรรคจะเป็นผู้เลือกคณะกรรมาธิการถาวร อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินี่เป็นเพียงพิธีการเท่านั้น เนื่องจากวิธีการกำหนดสมาชิกนั้นพัฒนาไปตามกาลเวลา ในทางกลับกัน คณะกรมการเมืองจะเลือกคณะกรรมาธิการถาวรผ่านการเจรจาลับ คณะกรรมธิการถาวรทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจและความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมีสมาชิกตั้งแต่ 5–9 คน[4] ในยุคเหมา เจ๋อตง เหมาจะเลือกและปลดสมาชิกเอง และในยุคเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้อาวุโสของพรรคจะปรึกษาหารือเพื่อกําหนดสมาชิกพรรคในคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา สมาชิกภาพของคณะกรมการเมืองได้รับการพิจารณาผ่านการพิจารณาและการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการโดยสมาชิกปัจจุบันและในอดีตของทั้งคณะกรมการเมืองและคณะกรรมการถาวร[5][6]ในทางทฤษฎี คณะกรรมาธิการถาวรจะขึ้นตรงต่อคณะกรมการเมือง ซึ่งจะขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการกลางพรรคที่ใหญ่กว่าตามลำดับ แต่ในทางปฏิบัติ คณะกรรมาธิการถาวรจะมีอำนาจเหนือหน่วยงานที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ เนื่องจากจีนเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียว การตัดสินใจของคณะกรรมาธิการถาวรจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย สมาชิกภาพได้รับการจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทั้งสื่อระดับชาติและผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองในต่างประเทศ ในอดีต บทบาทของคณะกรรมาธิการถาวรมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไป ตัวอย่างเช่น ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการถาวรแทบจะไม่มีอำนาจเลยสมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรได้รับการจัดอันดับตามลำดับผู้นำอย่างเคร่งครัด ในอดีต เลขาธิการ (หรือประธานพรรค) จะอยู่ในอันดับแรก การจัดอันดับของผู้นำคนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตั้งแต่ปีคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เลขาธิการใหญ่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ ประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน เลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของพรรค และเลขาธิการลำดับที่หนึ่งของสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองมาโดยตลอด[7]

คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน http://www.china.org.cn/english/features/49109.htm... https://web.archive.org/web/20071018054320/http://... https://web.archive.org/web/20171019004424/https:/... https://web.archive.org/web/20130210034750/http://... https://www.cfr.org/backgrounder/chinese-communist... https://books.google.com/books?id=6kzDCQAAQBAJ&q=h... https://www.reuters.com/article/us-china-congress-... http://www.chinafile.com/china%E2%80%99s-next-lead... http://gallery.artron.net/3042/g_shownews3042_1383... https://web.archive.org/web/20181210111000/http://...