เหตุการณ์หลังลงนาม ของ คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า

หลังวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 หลวงปักษี (คลุ้ม บ่วงราบ) นำกำลังเข้ายึดและปกครองเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี อย่างลับๆ ในช่วงอยู่การบังคับของอังกฤษ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนไทยในเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เห็นว่าการปกครองแบบอาณานิคมดีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 จนถึงปี พ.ศ. 2467 สืบทอดทาญาติต่อด้วย ลับดับ 2 นายคุ้ม บ่วงราบ (เสือคุ้ม) หรือ สมพร ถูกนายแพ้ว ลูกน้องคนสนิทร่วมกันลอบสังหาร ในปี พ.ศ. 2489

เซอร์เจมส์ สก๊อตต์ ระบุว่า ประชากรสยามในมณฑลตะนาวศรีภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมีประมาณ 19,631 คน คนสยามอาศัยอยู่ในอำเภอทวาย อัมเฮิสต์ และมะริด[1] กลุ่มคนสยามอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีในช่วงนั้นตะนาวศรีมีฐานะเป็นมณฑล ประชากรปี พ.ศ. 2444 มีประมาณ 1,159,558 คน ประกอบด้วยคนพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฉาน จีน และสยาม คนสยามอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของพม่า โดยเฉพาะอำเภอมะริด อัมเฮิสต์ และทวาย[2] มะริดอยู่ใต้สุดของพม่า ในปี พ.ศ. 2444 มะริดมีประชากรประมาณ 88,744 คน ในจำนวนนี้มีคนสยามอาศัยอยู่ในตัวเมืองมะริดประมาณ 9,000 คน[3] มะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin)[4] และมะลิวัลย์ (Maliwun)[5] ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู[6] ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ[7] ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยาม[8] เมืองสะเทิมอยู่ติดทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรมอญเดิม ปี พ.ศ. 2444 มีประชากร 343,510 คน ในจำนวนนี้มีชาวสยามประมาณ 10,000 คน[9]

ในหนังสือ Imperial Gazetteer of India ระบุว่าชาวสยามกระจายเป็นคนส่วนน้อยในอำเภออื่นของมณฑลตะนาวศรี เช่นอัมเฮิสต์ และทวาย ในอัมเฮิสต์ (ปัจจุบันคือเมืองไจก์กามี) สยามตั้งอาณานิคมขนาดเล็กของตน[10] ทวายปี พ.ศ. 2444 มีประชากรประมาณ 109,979 คน และเพียง 200 คนเท่านั้นที่แสดงตนเป็นคนสยาม[11]