คณะซิสเตอร์เชียน
คณะซิสเตอร์เชียน

คณะซิสเตอร์เชียน

คณะซิสเตอร์เชียน (ละติน: Ordo Cisterciensis, อังกฤษ: Cistercian Order, [http://www.forvo.com/word/Cistercian#en ออกเสียง) หรือคณะนักพรตขาว (White Monks) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกประเภทคณะนักบวชอารามิก ที่เรียกว่านักพรตขาวเพราะเสื้อนอกที่คลุมเครื่องแต่งกายชั้นในเป็นสีขาว วิถีชีวิตของนักพรตในคณะซิสเตอร์เชียนจะเน้นการใช้แรงงานด้วยมือและการดำรงชีพด้วยตนเอง ฉะนั้นอารามคณะซิสเตอร์เชียนจึงมักจะมีระบบการหารายได้เพื่อบำรุงตนเองด้วยกิจการต่าง ๆ เช่นการเกษตรกรรม หรือ การกลั่นเบียร์ในภาษาอังกฤษคำว่า “Cistercian” (ฝรั่งเศส: Cistercien) แผลงมาจากคำว่า “Cistercium”[1] ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของหมู่บ้าน “Cîteaux” ไม่ไกลจากเมืองดิฌงทางตะวันออกของฝรั่งเศส นักพรตคณะเบเนดิกตินที่หมู่บ้านนี้จากอารามมอเลมได้ทำการก่อตั้งอารามชีโตขึ้นในปี ค.ศ. 1098 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินตามวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้นไปอีก นักพรตที่มีชื่อเสียงของคณะซิสเตอร์เชียนที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดก็ได้แก่โรแบร์แห่งมอเลม อัลแบริกแห่งชีโตและนักพรตชาวอังกฤษสตีเฟน ฮาร์ดิง ผู้ที่เป็นอธิการสามองค์แรกของอาราม ส่วนแบร์นาร์แห่งแกลร์โวเข้าสำนักสงฆ์ราวต้นคริสต์ทศวรรษ 1110 พร้อมด้วยเพื่อนนักพรตอีก 30 องค์ เมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 คณะซิสเตอร์เชียนก็เผยแพร่ไปทั่วฝรั่งเศส และต่อไปยังอังกฤษ, เวลส์, สกอตแลนด์, ไอร์แลนด์, สเปน, โปรตุเกส, อิตาลี และ ยุโรปตะวันออกวัตถุประสงค์ของคณะซิสเตอร์เชียนคือการหวนกลับไปดำเนินชีวิตตามที่ระบุไว้ในวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างเคร่งครัด และหันหลังให้กับการวิวัฒนาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น นักพรตคณะซิสเตอร์เชียนพยายามดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของนักพรตในสมัยของนักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซียจนบางครั้งถึงกับเคร่งครัดยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก หัวใจของการปฏิรูปวิถีชีวิตคือการกลับไปใช้แรงงานที่ทำด้วยมือ โดยเฉพาะในการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของนักบวชซิสเตอร์เชียน ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่เทคโนโลยีในสมัยกลางของยุโรปนอกจากนั้นแล้วสถาปัตยกรรมซิสเตอร์เชียนก็ยังถือกันว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามที่สุดสถาปัตยกรรมหนึ่งของสถาปัตยกรรมยุคกลาง

ใกล้เคียง

คณะซิสเตอร์เชียน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา