ข้อโต้เถียง ของ คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

กลุ่มกฎหมายอื่นและสหประชาชาติประท้วงว่า ซัดดัม ฮุสเซนควรถูกนำตัวขึ้นศาลสหประชาชาติ คล้ายกับศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดาในอารูชา ประเทศแทนซาเนีย หลายคนว่า ซัดดัมควรถูกนำตัวขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ บางคนวิจารณ์ว่า สหรัฐอเมริกามีบทบาทมากเกินไปในการก่อตั้ง จัดหารเงินทุนและการปฏิบัติการของคณะตุลาการฯ[5]

อย่างไรก็ดี หลักการทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อิงขีดความสามารถศาลระดับชาติภายในประเทศก่อนหันไปจัดตั้งศาลระหว่างประเทศอย่างวิสามัญ ชาวอิรักมองคณะตุลาการฯ ว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและอธิปไตยมากขึ้นเช่นกัน โดยมีมุมมองว่า พวกเขาสามารถปกครองและตัดสินตัวเองได้ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศเห็นว่า ซัดดัมควรถูกพิจารณานอกประเทศเพราะเป็นที่เชื่อกันว่า เขาจะไม่ได้รับการพิจารณาอย่างยุติธรรมภายใต้ผู้พิพากษาไร้ประสบการณ์ที่เป็นศัตรูอันยาวนานของซัดดัมและรัฐบาลเขา หลังการริเริ่มโทษประหารชีวิตใหม่ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 นายกรัฐมนตรีชั่วคราวอิรัก อิยาด อัลลาวี ให้การรับรองว่าเขาจะไม่แทรกแซงการพิจารณาและจะยอมรับคำตัดสินใด ๆ ของคณะตุลาการ แม้บางความเห็นของเขาทำให้ตีความผิด "ในกรณีการประหารชีวิต เป็นเรื่องของคณะตุลาการที่จะตัดสิน ตราบใดที่การตัดสินนั้นบรรลุโดยปราศจากอคติและยุติธรรม"[6]

ใกล้เคียง

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่