คณะนักบวชคาทอลิกในประเทศไทย ของ คณะนักบวชคาทอลิก

คณะนักบวชคาทอลิกคณะแรกที่มาถึงสยามคือคณะดอมินิกันถึงในปี พ.ศ. 2110 ตามด้วยคณะฟรันซิสกันในปี พ.ศ. 2125[7] นอกจากนี้ก็มีคณะออกัสติเนียน และคณะเยสุอิต คณะเหล่านี้มีบทบาทมากในการเผยแพร่นิกายคาทอลิกในยุคปาโดรอาโด จากนั้นมีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาดำเนินการเผยแพร่ศาสนาและก่อตั้งมิสซังสยามได้เป็นผลสำเร็จ คณะนี้ได้วางรากฐานคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยจนพัฒนามาเป็นคริสตจักรท้องถิ่นที่ปกครองและบริหารงานตนเองได้ในปัจจุบัน

ตลอดช่วงของการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยยังได้ก่อตั้งคณะนักบวชท้องถิ่นขึ้นมาช่วยเหลืองานของเขตมิสซัง เช่น คณะรักกางเขนช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกในเขตมิสซังจันทบุรี เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง และเขตมิสซังอุบลราชธานี คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ ช่วยงานของคริสตจักรคาทอลิกในเขตมิสซังกรุงเทพฯและเขตมิสซังเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังเชิญคณะนักบวชจากต่างประเทศเข้ามาด้วย เช่น คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมันและคณะภราดาเซนต์คาเบรียลมาช่วยงานด้านการศึกษา คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกช่วยงานด้านพัฒนาสวัสดิภาพเยาวชน คณะคามิลเลียนเน้นงานด้านการสาธารณสุข นอกจากงานสังคมสงเคราะห์ยังมีคณะนักบวชอารามิกซึ่งเน้นวัตรการอธิษฐานและการเข้าฌาน ได้แก่ คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าซึ่งเปิดอารามแห่งแรกในปี พ.ศ. 2468 และคณะกลาริสกาปูชินเข้ามาตั้งอารามในปี พ.ศ. 2479

ปัจจุบันอธิการเจ้าคณะนักบวชชายในประเทศไทยได้รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอธิการเจ้าคณะนักบวชชายแห่งประเทศไทย[8] ขณะที่อธิการิณีเจ้าคณะนักบวชหญิงก็ร่วมกันก่อตั้งเป็นชมรมอธิการิณีเจ้าคณะแห่งประเทศไทยและลาว[9] ทั้งสององค์การรวมกันเป็นสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย[10]

ใกล้เคียง

คณะนักบวชคาทอลิก คณะนักบวชภิกขาจาร คณะนักบวชอารามิก คณะนักบวชธรรมทูต คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59