ประวัติ ของ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ_มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พุทธศักราช 2498 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับอนุญาตการใช้พื้นที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์เชิงเขาน้ำซับจากกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้น ตั้งเป็นสถานีวิจัยศรีราชาเพื่อใช้พื้นที่วิจัยและฝึกงานของนิสิตคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก เขตพาณิชยกรรม และการค้า เขตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เขตพัฒนาเมืองและชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมทางวิชาการ จึงได้ปรับ เปลี่ยนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานให้เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตแห่งใหม่เพื่อเป็นสถานศึกษาทำการผลิต และพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาที่สนองตอบความต้องการกำลังคนของ ภาคตะวันออก ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนศรีราชา เพื่อทำหน้าที่เตรียมการเรียนการสอน วางแผนจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

พุทธศักราช 2539 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา โดยมีโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ทั้งนี้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ ได้เปิดรับนิสิตสาขาการจัดการ สาขากาตลาด ในปีการศึกษา 2539 เป็นรุ่นแรก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้รับการอนุมัติจากมติของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นคณะวิชาที่เกิดจากการแบ่งส่วนราชการภายในของวิทยาเขตศรีราชา ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการเรียนการสอนให้แก่นิสิต ณ วิทยาเขตศรีราชา[1][2]

พุทธศักราช 2543 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้เปิดรับนิสิต สาขาวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ และในปีเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา (Faculty of Engineering At Siracha)

พ.ศ. 2549 ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ ให้สามารถเลือกเรียนสาขาได้ 3 สาขา และเปิดหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์เดินเรือโดยรับนิสิตเป็นปีแรก ในปีเดียวกันหลักสูตรดังกล่าวได้รับการจัดตั้งเป็นวิทยาลัยพาณิชยณาวีนานาชาติ มีฐานะเป็นคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีประกาศเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ใกล้เคียง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะราษฎร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม