ประวัติ ของ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2481 จอมพล ป.พิบูลสงคราม อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ได้มีคำสั่งลงวันที่ 22 ตุลาคม 2481 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้วางหลักสูตรการศึกษาวิชาการบัญชีการพาณิชย์และเศรษฐศาสตร์ โดยเปิดแผนกวิชาการบัญชีและพาณิชย์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือเป็นวันสถาปนาคณะฯ[5]
  • พ.ศ. 2482 การจัดวางหลักสูตรได้ลุล่วงโดยแผนกวิชาการบัญชีและพาณิชย์ได้เริ่มเปิดสอนครั้งแรกในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 โดยกำหนดให้ผู้ที่จะศึกษาวิชาการบัญชีทั้งหมด 5 ปี ซึ่งจะเรียนภาคทฤษฎี 4 ปี และภาคปฏิบัติ 1 ปี นิสิตการบัญชีและพาณิชย์รุ่นแรกหรือรุ่น 1 ในปี 2482 นั้น มีทั้งรุ่น 1 ปี 1 และรุ่น 1 ปี 2 รวมทั้งสิ้น 88 คน รุ่น 1 ปี 1 หมายถึงนิสิตปี 1 ที่สอบมาโดยตรงกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมกับนิสิตที่ผ่านปี 1 แล้ว แต่สนใจจะมาเรียนทางการบัญชีและพาณิชย์ ก็มาเรียนได้โดยไม่ต้องสอบโดยโอนมาเรียนปี 1 ได้ทันทีอีกจำนวนหนึ่ง รุ่น 1 ปี 1 นี้มีรวมทั้งสิ้นจำนวนรวม 51 คน ส่วนรุ่น 1 ปี 2 หมายถึงนิสิตที่ผ่านปี 2 แล้ว (เกือบทั้งหมดเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ บางคนผ่านปี 3 แล้วบางคนก็จบปี 4 แล้ว) สนใจจะมาเรียนการบัญชีพาณิชย์ก็โอนมาเรียนการบัญชีและพาณิชย์ปี 2 ได้ทันที แต่การเรียนจะเรียนวิชาปี 1 และปี 2 ควบคู่กันไป ในส่วนรุ่น 1 ปี 2 นี้มีจำนวนทั้งสิ้น 37 คน[6]
  • พ.ศ. 2483 ศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกวิชาการบัญชีและพาณิชย์ และคณะกรรมการวิชาการได้พิจารณาจัดหลักสูตรให้มีลักษณะอิสระ แตกต่างจากหลักสูตรของคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยแยกตัวออกจากคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นแผนกวิชาอิสระการบัญชีและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2483 ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับแผนกอิสระอื่น ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2486 หลังจากแผนกวิชาอิสระได้ดำเนินการสอนมาเกือบ 5 ปี ก็ได้รับการสถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486 ประกอบไปด้วย 3 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาการบัญชี แผนกพาณิชยศาสตร์ แผนกเศรษฐศาสตร์ และศาสตราจารย์อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคนแรกของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • พ.ศ. 2487 แผนกวิชาการบัญชี ได้ตัดภาคปฏิบัติของหลักสูตรบัญชีออก คงเรียนแต่เฉพาะภาคทฤษฎีเป็นเวลา 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัญชีบัณฑิต ส่วนแผนกพาณิชยศาสตร์ ได้กำหนดหลักสูตรไว้ 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต
  • พ.ศ. 2494 คณะฯ ได้เปิดแผนกวิชาเศรษฐศาสตร์หลักสูตร 4 ปี ผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต
  • พ.ศ. 2500 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาสถิติ หลักสูตร 4 ปี โดยผู้ที่เรียนสำเร็จการศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2500 - 2513 จะได้รับปริญญาพาณิชยศาสตรบัณฑิต (สถิติ) ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 เป็นต้นมาจะได้รับปริญญาสถิติศาสตรบัณฑิต
  • พ.ศ. 2503 เปิดสอนปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2504 ได้เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2513 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการธนาคารและการเงิน หลักสูตร 4 ปี (ปริญญาบัญชีบัณฑิต)
  • พ.ศ. 2520 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดแผนกวิชาการตลาด โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ปรียา วอนขอพร เป็นหัวหน้าภาควิชาท่านแรก และเปิดสอนปริญญาตรี 4 ปี ในหลักสูตร พาณิชยศาสตรบัณฑิต
  • พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้ใช้คำว่า "ภาควิชา" แทน "แผนกวิชา" ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
ป้ายคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • พ.ศ. 2525 ภาควิชาการตลาด ก่อตั้งบริษัทจำลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบริษัทฝึกงานนิสิต ดำเนินงานแบบธุรกิจจริง และในปีเดียวกันได้ เปลี่ยนชื่อหลักสูตรปริญญาโท พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
  • พ.ศ. 2526 คณะฯ เปลี่ยนหลักสูตรพาณิชยศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต เปิดสอนปริญญาตรีหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต โดยรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง 3 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ ภาควิชาการธนาคารและการเงิน และภาควิชาการตลาด
  • พ.ศ. 2529 พัฒนาหลักสูตรใหม่ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สำหรับนักบริหาร ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของคณะฯ ที่เปิดสอนนอกเวลาราชการ
  • พ.ศ. 2531 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก บัญชีดุษฎีบัณฑิต เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก (JDBA) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ และเปิดหลักสูตรปริญญาโท 2 หลักสูตรคือ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ และ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกันภัย
  • พ.ศ. 2539 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งนับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีปริญญาแรกในจุฬาฯ
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโททางการเงินแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2543 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ)[7]
  • พ.ศ. 2544 หลักสูตรปริญญาตรี สถิติศาสตรบัณฑิตได้เปิดสาขาวิชาใหม่เพิ่ม คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ
  • พ.ศ. 2547 เปิดหลักสูตรปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตรปริญญาโทอีก 3 หลักสูตร คือ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ, หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
  • พ.ศ. 2551 เปิดหลักสูตรปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเงินเชิงปริมาณ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (ภาคนอกเวลาราชการ)
  • พ.ศ. 2552 เปิดหลักสูตรปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงพยาบาลและการรักษาสุขภาพ
  • พ.ศ. 2554 เปิดหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) (ภาคนอกเวลาราชการ)
  • พ.ศ. 2554 ปรับปรุงหลักสูตรปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เปิดสอนใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาการเงิน สาขาการจัดการ สาขาการตลาด (เดิมคือหลักสูตรปริญญาเอกร่วม 3 สถาบัน JDBA ที่เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535)[8]

ใกล้เคียง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะราษฎร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://maps.google.com/maps?ll=13.734113,100.53014... http://www.msmarketchula.com/ http://www.msmarketchula.com/ict_marketing.php/ http://www.msmarketchula.com/retail_marketing.php/ http://www.msmarketchula.com/service_marketing.php... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7341... http://www.shicu.com/ http://www.shicu.com/index.php/about-us/story/32-2... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.aacsb.edu/accreditation/accredited-memb...