ประวัติ ของ คณะภคินีเซนต์ปอล_เดอ_ชาร์ตร

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17[2] จากการที่บาทหลวงหลุยส์ โชเวต์ (Louis CHAUVET) อธิการโบสถ์เลอเลวีย์-ลา-เชอนาร์ ได้รวมกลุ่มหญิงสาวชาวนา 4 คน ตั้งเป็นคณะภคินีในปี ค.ศ. 1696 เน้นทำงานช่วยเหลือการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในตอนแรกมีชื่อว่า "คณะภคินีเมตตาธรรม" (Sisters of Charity) ให้ภคินีมารี-อาน เดอ ตียี เป็นผู้อบรม ต่อมาในปี ค.ศ. 1707 บาทหลวงโชเวต์ได้มอบคณะภคินีนี้ให้อยู่ในความดูแลของบิชอปปอล กอเด เด มาเรส์ (Paul Godet des Marais) บิชอปแห่งชาทร์ในขณะนั้น และได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "คณะภคินีเซนต์ปอล" เพื่อให้ยึดถือเอานักบุญเปาโลอัครทูตเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของคณะและเป็นแบบอย่างในการประกาศข่าวดี แคนันโกลด มาเรอโช ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการคนแรก จึงดำเนินการปรับปรุงวินัยประจำคณะจนเสร็จสมบูรณ์

คณะภคินีเซนต์ปอลฯ ได้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และขยายงานไปปฏิบัติงานตามพันธกิจยังพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศส จนวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1931 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 จึงประกาศรับรองสถานะและธรรมนูญของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร อย่างเป็นทางการ[3]

ใกล้เคียง

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะภราดาเซนต์คาเบรียล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง