ประวัติ ของ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • พ.ศ. 2502 เริ่มมีการผลิตบัณฑิต "สาขาวิชาพลศึกษา" ในระดับปริญญาบัณฑิตขึ้นที่ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2535 ภาควิชาพลศึกษา มีแนวคิดที่จะพัฒนาไปสู่ระดับคณะ โดยใช้ชื่อ "คณะสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ" ทั้งนี้ เนื่องจาก พลศึกษาและสุขศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้นเป็นลำดับ แต่เนื่องจากสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีมติให้ชะลอการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาไว้ก่อน
  • พ.ศ. 2541 ทบวงมหาวิทยาลัยตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงมีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการในรูป "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา" รวมทั้งมีมติเห็นชอบบรรจุหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ในระดับปริญญาตรี และสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาสามารถพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยจึงได้เสนอขอจัดตั้ง "สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา" เป็นหน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 หน่วยงานนี้มีพันธกิจเช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย นับเป็นสำนักวิชาแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2547 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นประกอบด้วย 5 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาสรีรวิทยาการกีฬา แขนงวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ แขนงวิชาการโค้ชกีฬา แขนงวิชาการจัดการนันทนาการการท่องเที่ยว และแขนงวิชาการจัดการกีฬา นับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • พ.ศ. 2550 สำนักวิชาฯ ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะจิตวิทยาซึ่งเป็นหน่วยงานภายในจุฬา และหน่วยงานภายนอกจุฬา ฯ ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังมีหน่วยงานในต่างประเทศร่วมมือให้การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการ หลักสูตรและการเรียนการสอน โดยแบ่งเป็น 3 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และแขนงวิชาการบริหารจัดการกีฬาและนันทนาการ
  • พ.ศ. 2552 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้เปลี่ยนเป็น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา[1]

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย