ประวัติ ของ คณะศิลปกรรมศาสตร์_มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นเพียงภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทาเท่านั้น นับเป็นการพัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 40 ปี  

จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2542 รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีความคิดริเริ่มที่จะรวมความโดดเด่นทางด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ และการละคร ที่มีอยู่ในรั้ว "สวนสุนันทา" และพัฒนาให้เข้มแข็งเพื่อเป็นผู้นำทางด้านศิลปกรรมศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศจึงได้จัดตั้ง "โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์" ขึ้นมา โดยแยกกลุ่มวิชาศิลปะทั้งหมดออกมาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และได้แบ่งการบริหารทางวิชาการออกเป็น 3 โปรแกรมวิชาประกอบด้วย

  1. โปรแกรมวิชาศิลปะ
  2. โปรแกรมวิชาดนตรี
  3. โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ (โดยรวมกับกลุ่มวิชานาฏศิลป์และการละคร)

พร้อมทั้งแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษในสมัยนั้น รักษาการในตำแหน่งคณบดี และหลักจากนั้นก็มีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาทำให้การจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดียิ่งโดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างดียิ่งจากอดีตอธิการบดีและรองอธิการบดี รวมทั้งบุคคลต่างๆ อีกหลายท่าน

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 สภามหาวิทยาลัยฯ ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาจัดตั้ง "คณะศิลปกรรมศาสตร์" เป็นที่เรียบร้อย และได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พร้อมเป็นคณะเดียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่งทั่วประเทศ[1] [ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]

การเรียนการสอน

คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้ใช้พื้นที่ของอาคาร 58 เป็นอาคารเรียนขนาด 5 ชั้นใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งทำการก่อสร้างในสมัยอธิการบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด และเสร็จสิ้นในสมัย รองศาสตราจารย์ ดร.ช่วงโชติ พันธุเวช ในปี พ.ศ. 2552 จึงมีอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ในภูมิทัศน์ที่เด่นเป็นสง่าติดกำแพงแดง ด้านถนนราชวิถี มีห้องมีโรงละคร หอศิลป์ รวมถึงห้องปฏิบัติทางวิชาชีพด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาครบ 75 ปี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ “ม.ว.ก.”และพระราชทานนาม “อาคาร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวิชาราลงกรณ” แก่อาคาร 58 คณะศิลปกรรมศาสตร์

ใกล้เคียง

คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์