ประวัติ ของ คณะศิลปกรรมศาสตร์_มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • พ.ศ. 2511 ในยุคแรกเริ่มนั้น คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นเพียงแผนกหนึ่งในคณะวิชาการศึกษา โดยมีศาสตรจารย์พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ เป็นผู้ผลักดันให้เกิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกศิลปศึกษา ขึ้นในแผนกศิลปศึกษา คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เท่านั้น
  • พ.ศ. 2517 เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ได้รับการยกระดับฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น แผนกศิลปศึกษาที่เคยมีอยู่ดั้งเดิมก็ได้พัฒนากลายเป็นภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรดนตรีศึกษาได้ก่อตั้งขึ้นโดยเป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางดนตรีศึกษา 2 ปีต่อจากอนุปริญญา

พ.ศ. 2532 ปรับหลักสูตรใหม่ดนตรีศึกษาเป็นครู 4 ปีภายใต้คณะศิลปกรรมศาสตร์พ.ศ. 2547 ปรับหลักสูตรครูศิลปกรรมเป็น 5 ปี

นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกศิลปศึกษา ที่มีอยู่แต่เดิมแล้วนั้น ยังได้เพิ่มหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกศิลปะ ซึ่งเน้นหนักไปทางการผลิตทรัพยากรบุคคลสิ่งเดี่ยวเฉพาะทาง โดยเป็นหลักสูตรในเชิงบูรณาการที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพได้กว้าง และสอดรับกับความต้องการของแต่ละบุคคล

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรทั้งสองก็เปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านทัศนศิลป์ และการออกแบบสื่อสาร (Communication Design) เป็นด้านหลัก อีกทั้งยังกำหนดให้เรียนวิชาโทที่เปิดสอนภายนอกภาควิชาและภายนอกคณะ โดยวิชาโทจะเป็นวิชาที่ช่วยขยายรากฐานให้กว้างขึ้น และ/หรือ เป็นแรงผลักดันวิชาชีพหรือวิชาเอกอีกด้วย

ในปีเดียวกัน ก็ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกดุริยางคศาสตร์ไทยและดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ ในคณะมนุษยศาสตร์เช่นกัน

  • พ.ศ. 2536 จากภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ ได้สถาปนาขึ้นเป็น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีการเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ทั้งหมด 6 ภาควิชา 14 วิชาเอก ได้แก่ ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาดุริยางคศาสตร์สากล ภาควิชาทัศนศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลปศึกษา ภาควิชาออกแบบทัศนศิลป์ และภาควิชาศิลปะการแสดง และมีการเปิดสอนในระดับปริญญาโท 3 วิชาเอก ภายใต้การบริหารจัดการของงานบัณฑิตศึกษา

ใกล้เคียง

คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์