ประวัติ ของ คณะศึกษาศาสตร์_มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคามขึ้นมาโดยศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูในสมัยนั้น ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคามนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการดเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี[1]

ในปีการศึกษา 2512 การก่อสร้างอาคารสถานที่ของวิทยาลัยเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งาน คือ อาคารเรียน 1, หอสมุด หอศิลป์ โรงอาหาร หอพักชาย และหอพักหญิง จากนั้นวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนามาตามลำดับ

ในปี 2514 ได้มีการดำเนินการขอพื้นที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกองทัพอากาศ ซึ่งได้ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามบินจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติม

ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา[2]  ซึงเป็นการรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโอนสถานะไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีดังนี้ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา และการประถมศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่าง ๆ กระทั่งสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา[3] ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา [4]  นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย ทำให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามก็ได้ถูกยกฐานะเป็น "คณะ" อย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ถือเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เติบโตมาพร้อม ๆ คู่กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ในปี พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกับระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการบริหารงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออกเป็นประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2561 สาระสำคัญคือ ให้โรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานในกำกับคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ใกล้เคียง

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะศึกษาศาสตร์_มหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://etcedumsu.com/ETC/?page_id=16 http://www.instagram.com/smoedu.msu http://edu.msu.ac.th/ http://etc.msu.ac.th/th/home http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/... https://www.facebook.com/Media.SMO https://www.facebook.com/edumsuclub