คณะสงฆ์ชินกัก
คณะสงฆ์ชินกัก

คณะสงฆ์ชินกัก

คณะสงฆ์ชินกัก (เกาหลี: 대한불교진각종; ฮันจา: 大韓佛敎眞覺宗) คือคณะสงฆ์นิกายคุยหยานของประเทศเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1947 โดยโฮดัง (นามเดิม ซ็อน คยู-ชัง; ค.ศ. 1902–1963)[1] นักพรตคณะนี้จะนับถือพระไวโรจนพุทธะเป็นสำคัญเสียยิ่งกว่าพระโคตมพุทธเจ้า ผู้เป็นองค์พระศาสดา[2] มีคำสอนสำคัญ เรียกว่า ธรรมกายมหาไวโรจนพุทธะ ประกอบด้วยการดำรงอยู่สามขั้นตอน ได้แก่ วิโมกษ์ (ความหลุดพ้น) ปรัชญา (ปัญญาให้ถึงความหลุดพ้น) และ ธรรมกาย (สภาวะดั้งเดิมของพุทธะ)[3] โดยรับคำสอนพื้นฐานมาจากศาสนาพุทธนิกายชิงงงที่ปรับขึ้นใหม่ รวมเข้ากับความเชื่อเรื่องมณฑลสองแบบ คือ ครรภธาตุ และวัชรธาตุ[4] มีบทสวดมนต์หลักเป็นภาษาเกาหลีเพียงหกพยางค์ คือ อม มานี บันเม ฮุม (옴 마니 반메 훔) และภายในธรรมศาลาจะไม่มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ หากแต่มีสัญลักษณ์ อีว็อนซัง (일원상, 一圓相) หรือสัญลักษณ์แห่งความจริงแท้อยู่ตรงหน้า[5]คณะสงฆ์ชินกักถูกจัดให้เป็นศาสนาพุทธเพื่อสังคม (Engaged Buddhism) หรือศาสนาพุทธแบบมนุษยนิยม (Humanistic Buddhism) ด้วยมีความพยายามในการที่จะให้หลักธรรมและหลักการทางศาสนาเพื่อพัฒนาสหโลก ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์ดังกล่าวจึงได้ดำเนินกิจกรรมผ่านมูลนิธิสวัสดิการสังคมเป็นของตนเอง เช่น การบริจาคสิ่งของและช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์ หรือการสอนภาษาเกาหลีแก่พระสงฆ์และประชาชนชาวพม่า เป็นอาทิ[6] นอกจากจะมีเขตวัดในเขตประเทศเกาหลีใต้แล้ว พวกเขายังมีเขตวัดกระจายไปในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศแคนาดา และสหรัฐอย่างไรก็ตาม คณะสงฆ์ชินกักจะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคณะสงฆ์อื่นในประเทศเกาหลีใต้ คือ พระสงฆ์มีลักษณะแบบปุโรหิตใกล้เคียงกับลัทธิว็อนบุล[5] เพราะสามารถไว้ผมยาวหรือสมรสได้ แต่จะแตกต่างกับลัทธิว็อนบุลตรงที่พระสงฆ์พร้อมคู่สมรสสามารถแสดงธรรมเทศนาร่วมกันได้[2] เดิมเมื่อมีกิจกรรมทางศาสนา ศาสนิกชนจะนั่งบนเบาะเพื่อฟังธรรมเทศนา แต่ในระยะหลังมานี้ได้เปลี่ยนเป็นเก้าอี้นั่งใกล้เคียงกับของโบสถ์ในศาสนาคริสต์[5]

ใกล้เคียง

คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย คณะสงฆ์ชินกัก คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย คณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ คณะองคมนตรีไทย คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์