หน่วยงานและการศึกษา ของ คณะสหเวชศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชา

เมื่อเริ่มจัดตั้งคณะมีการแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเคมีคลินิก ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก ภาควิชารังสีเทคนิค และภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชากายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิค[10] อย่างไรก็ตาม ทางคณะยังไม่สามารถเปิดหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต สาขารังสีเทคนิคได้ จนกระทั่ง มีการจัดแบ่งหน่วยงานภายในคณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการยุบ เพิ่ม และเปลี่ยนชื่อภาควิชาบางส่วนเพื่อความมีประสิทธิภาพในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของคณะ ปัจจุบัน คณะสหเวชศาสตร์มีการจัดแบ่งภาควิชาออกเป็น 6 ภาควิชา[11] ดังนี้

  • ภาควิชากายภาพบำบัด[12]
  • ภาควิชาเคมีคลินิก[13]
  • ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก[14]
  • ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก[15]
  • ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • ภาควิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์

หลักสูตรการศึกษา

คณะสหเวชศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ภาควิชา เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีใน 4 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด โภชนาการและการกำหนดอาหาร และรังสีเทคนิค โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ได้ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้วทำให้บัณฑิตสามารถขอขึ้นทะเบียนสอบและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวได้[16][17]

ทั้งนี้ การเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาบัณฑิตใช้เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[18] นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดสอนในคณะสหเวชศาสตร์หรือกลุ่มวิชาโทข้ามสาขาในต่างคณะได้ 1 สาขาวิชา (15 หน่วยกิต) ตามความสามารถและความสนใจของนิสิต[19]

ทางคณะยังจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ระดับปริญญาโท 5 หลักสูตร[20] และระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร[21] และได้ร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอก 1 สหสาขาวิชา ได้แก่ สหสาขาชีวเวชศาสตร์[22] โดยหลักสูตรที่คณะเปิดการเรียนการสอน มีดังนี้

ปริญญาตรีปริญญาโทปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
  • สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิชารังสีเทคนิค

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์โลหิตวิทยาคลินิก
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
    (หลักสูตรนอกเวลาราชการ)
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
    • แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดด้วยวิธีการดัดดึง
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบประสาท
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดในเด็ก
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
  • สาขาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)[23]
    • แขนงวิชาโภชนบำบัดทางการแพทย์
    • แขนงวิชาโภชนชีวเคมี
    • แขนงวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด
    • แขนงวิชากายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดด้วยวิธีการดัดดึง
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบประสาท
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดในเด็ก
    • แขนงวิชาการภาพบำบัดทางระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ)[24]
    • แขนงวิชาโภชนบำบัดทางการแพทย์
    • แขนงวิชาโภชนชีวเคมี
    • แขนงวิชาอาหารและโภชนาการประยุกต์
  • สหสาขาชีวเวชศาสตร์

การรับบุคคลเข้าศึกษา

ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตทุกหลักสูตรต้องเป็นผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์หรือเทียบเท่า[18] โดยรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อผ่านระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • การคัดเลือกเข้าศึกษาโดยระบบกลาง

การคัดเลือกเข้าศึกษาโดยระบบกลางหรือระบบแอดมิชชัน เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์พิจารณาจาก GPAX 20%, O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%, GAT (General Aptitude Test) 20% และ PAT2 (Professional Aptitude Test) 30%[25]

  • รับตรงแบบปกติ

คณะสหเวชศาสตร์เปิดรับบุคคลเข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง (แบบปกติ) ในสาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 40 คน และสาขาวิชารังสีเทคนิคและฟิกส์ทางการแพทย์ รับประมาณ 20 คน โดยผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์จะต้องได้คะแนนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด[26]

  • รับตรงแบบพิเศษ
    • โครงการจุฬาฯ-ชนบท เป็นโครงการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะรับนักเรียนจากชนบทจากจังหวัดที่มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโดยจะได้รับทุนอุดหนุนจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในคณะสหเวชศาสตร์จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 2.75 กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.75 และกลุ่มวิชาอื่น ๆ แต่ละกลุ่มวิชาไม่ต่ำกว่า 2.00 และเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยคณะสหเวชศาสตร์เปิดรับ 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 15 คน สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 6 คน และสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 3 คน[27]
    • โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ฮาลาลในเขตแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) โดยรับนักเรียนมุสลิมจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา (เฉพาะเขตอำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ และอำเภอสะบ้าย้อย) โดยผู้ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของโครงการต่าง ๆ กำหนดไว้ ได้แก่ เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม สำหรับสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์และสาขาวิชากายภาพบำบัดต้องได้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 และสาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารไม่ต่ำกว่า 2.75 และสาขาวิชากายภาพบำบัดต้องเป็นเพศชายเท่านั้น เป็นต้น โดยจำนวนที่เปิดรับนิสิตเข้าศึกษา ได้แก่ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ รับประมาณ 1 คน สาขาวิชากายภาพบำบัด รับประมาณ 2 คน สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร รับประมาณ 1 คน และสาขาวิชารังสีเทคนิคและฟิสิกส์ทางการแพทย์ รับประมาณ 1 คน[28]

สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตนั้น ทางคณะเปิดรับสมัครผ่านบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี[18]

ใกล้เคียง

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสหวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะสหเวชศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.sahavatecamp.com/articlec_a2.html http://www.thaimuslim.com/view.php?c=14&id=21896 http://www.komchadluek.net/detail/20091120/38052/%... http://www.komchadluek.net/detail/20101219/83196/%... http://www.amtt.org/index.php?module=article&aid=4 http://www.mtcouncil.org/content/228 http://www.mtcouncil.org/content/637 http://www.admissions.chula.ac.th/images/stories/1... http://www.admissions.chula.ac.th/images/stories/a... http://www.admissions.chula.ac.th/images/stories/r...