การเรียนการสอน ของ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์_มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ได้เปิดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในระดับปริญญาตรี ได้เปิดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง ในระดับปริญญาโท ได้เปิดการศึกษาทั้งในภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยเปิดการเรียนการสอนที่ท่าพระจันทร์ และศูนย์พัทยา สำหรับหลักสูตรและการจัดการศึกษามีดังนี้

  • หลักสูตร/โครงการ (ภาคพิเศษ)
  1. ระดับปริญญาตรี
    1. สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ศูนย์รังสิต
    2. สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ศูนย์ลำปาง
    3. ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานโยบายสังคมและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ )
  2. ระดับปริญญาโท (ภาคปกติ)
    1. หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
    2. หลักสูตรพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต
  3. ระดับปริญญาโท (ภาคพิเศษ)
    1. โครงการปริญญาโท สาขาบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม (ทั้งศูนย์ท่าพระจันทร์เปิดสอนปีการศึกษ 2540 และศูนย์ลำปางเปิดสอนปีการศึกษา 2555)
    2. โครงการปริญญาโท สาขาบริหารงานยุติธรรม
    3. โครงการปริญญาโท สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ
    4. โครงการปริญญาโท สาขาพัฒนาชุมชน ศูนย์พัทยา
  4. ระดับปริญญาเอก (ภาคปกติ)
    1. หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารสังคม

การศึกษาภาคปฏิบัติการศึกษาในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วยภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษา ถึงพร้อมด้วยความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และทักษะ (Skill) ทางสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งคุณธรรม และจริยธรรมทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการฝึกภาคปฏิบัตินั้น จะช่วยให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน และช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สังคม สงเคราะห์ภาคทฤษฎีไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงเมื่อจบการศึกษาแล้ว รวมทั้งเป็นการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีของการเป็นนักสังคมสงเคราะห์ วิชาชีพต่อไปในอนาคตการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต มีจำนวน 2 วิชา คือ1. สค.202 การฝึกภาคปฏิบัติ 1 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่มไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์การ ฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี หลักการ ทักษะทางวิชาชีพ โดยเฉพาะการนำวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบ ผสมผสานไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่ให้บริการ ฝึกให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ เชื่อมโยงการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสาน การนำเสนอแนวคิดเพื่อปรับปรุงทั้งวิธีการให้บริการและการพัฒนาระบบสวัสดิการ สังคมใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในระดับต่าง ๆ (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)

2. สค.301 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 : ฝึกให้นักศึกษาได้นำวิธีการสังคมสงเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกับชุมชน เมืองหรือชนบท ฝึกให้นักศึกษาสามารถศึกษาชุมชน วิเคราะห์ชุมชน การวางแผนดำเนินโครงการ การปฏิบัติการตามแผนงานการประเมินผลการดำเนินงาน โดยนำแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการสังคมสงเคราะห์แบบผสมผสานไปใช้ในการศึกษา ฝึกให้นักศึกษาเกิดทักษะการทำงานกับชุมชน การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการปฏิบัติงานชุมชนทุกขั้นตอน การเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ในการทำงานกับชุมชน (ฝึกภาคสนาม 270 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษา)

คุณค่า : กิจกรรมนักศึกษา

กิจกรรมนักศึกษา คือ งานที่นักศึกษาจัดขึ้นนอกเวลาเรียน ทั้งภายในและนอกสถาบัน อาจเกี่ยวข้องกับการเรียนในหลักสูตรโดยตรง ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวไม่มีการบังคับให้เข้าร่วม เกิดจากความเต็มใจ และสมัครใจของนักศึกษา กิจกรรมของนักศึกษาจัดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อความรู้ ตอบสนองความต้องการและความสนใจของนักศึกษาเอง คือ เกิดความสนุกสนาน รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ความสามารถของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมนักศึกษานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันสังคมไม่ต้องการคนเก่งทางวิชาการเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการ คนที่มีความสมบูรณ์ทั้งความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ทำให้นักศึกษาเปิดมุมมองของตนเองให้กว้างขึ้น จัดการและบริหารเวลาได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักบทบาทผู้นำและผู้ตาม

การเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา ไม่เพียงทำให้นักศึกษาใช้เวลาว่างและเกิดประโยชน์ แต่ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน นักศึกษาที่สนใจกิจกรรม ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม หรือต้องการเป็นสมาชิกชมรม ชุมนุมต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายการนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือที่ คณะกรรมการนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ โทร. 0-2696-5504

ผู้บริหารคณะ :คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณหัวหน้าภาควิชาสังคมสงเคราะห์ รองศาสตราจารย์ ระพีพรรณ คำหอมหัวหน้าภาควิชาพัฒนาชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง

ใกล้เคียง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์