ประวัติ ของ คณะอุร์สุลิน

อันเจลา เมรีชี สตรีชาวอิตาลี สมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญฟรังซิส ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่เยาวชนหญิง ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1532 อันเจลาจึงได้รวมรวบหญิงสาวและหญิงม่ายมาตั้งเป็นคัมพานีของนักบุญอุร์สุลา (Company of St. Ursula) มีสถานะเป็นสถาบันฆราวาสผู้ถวายตน (คือกลุ่มผู้ถวายตัวต่อพระเจ้า โดยปฏิบัติตามคำแนะนำแห่งพระวรสาร 3 ข้อ แต่ยังอาศัยอยู่ในบ้านของตนร่วมกับฆราวาสอื่น ๆ) และถือเอานักบุญอุร์สุลาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์คณะ

เมื่ออันเจลาถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1540 คณะยังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง จนแพร่หลายไปทั่วยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 สมาชิกของคณะที่เดิมอยู่แบบฆราวาสก็เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างนักพรตหญิงและอาศัยในอาราม ซึ่งแต่ละอารามปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอารามอื่น ๆ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของมุขนายกประจำมุขมณฑลที่อารามนั้นตั้งอยู่ จึงกลายเป็นคณะนักบวชอารามิกโดยสมบูรณ์ มีชื่อว่าคณะของนักบุญอุร์สุลา (Order of St. Ursula) สมาชิกของคณะยังคงเน้นทำงานด้านการจัดการศึกษา และได้แพร่หลายมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19[1]

ต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 เห็นว่าอาราคณะอุร์สุลินมีอยู่หลายคณะกระจายตามมุขมณฑลต่าง ๆ สมควรจะรวมให้เป็นคณะเดียวกันภายใต้อัคราธิการิณีคนเดียวที่ประจำอยู่กรุงโรม การทำงานจะได้มีประสิทธิภาพขึ้น คุณแม่อธิการิณีมารี เดอ แซ็งฌูว์เลียง โอบรี แห่งอารามบรัวจึงส่งจดหมายเชิญอธิการิณีอารามคณะอุร์สุลินมาร่วมประชุมกันที่กรุงโรม ปรากฏว่ามีทั้งสิ้น 71 อารามที่ยอมตกลงเข้าร่วม จึงเกิดเป็นคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน และคุณแม่มารีย์เป็นอัคราธิการิณีคนแรก สหภาพโรมันนี้ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1900 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันก่อตั้งคณะ[2]

ฝ่าย "คัมพานีของนักบุญอุร์สุลา" ซึ่งเป็นรูปแบบดั้งเดิมสุดของคณะอุร์สุลินได้เสื่อมลง จนหายไปในสมัยที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 รุกรานอิตาลี[3] ต่อมาราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มัดดาเลนาและเอลีซาเบตตา พี่น้องตระกูลจีเรลลี ได้รื้อฟื้นคัมพานีขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างกลุ่มฆราวาสช่วยงานมุขนายกจีราลาโม เดย์ กอนตี แวร์เซรี (Girolamo dei Conti Verzeri) คณะฆราวาสนี้แพร่หลายไปในหลายประเทศ โดยแยกกันปกครองเป็นอิสระ ผู้นำภายในคณะจึงมีดำริจะรวมแต่ละเป็นสมาพันธ์เดียว ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1958 จึงได้รับการรับรองจากสันตะสำนักในชื่อใหม่ว่าสถาบันฆราวาสผู้ถวายตนของนักบุญอันเจลา เมรีชี (Secular Institute of St. Angelia Merici)[3]

ใกล้เคียง

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน คณะอุร์สุลิน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ