กระบวนการคัดเลือกตัวแทนเข้าแข่งขัน ของ คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

กระบวนการคัดเลือกตัวแทนเข้าแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกแตกต่างกันมากตามประเทศ ในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออก กระบวนการคัดเลือกมีการสอบที่ยากหลายครั้ง ซึ่งมีความยากเท่ากับปัญหาคณิตศาสตร์โอลิมปิกทีเดียว[14] ผู้เข้าแข่งขันจีนผ่านค่าย ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 16 มีนาคม ถึง 2 เมษายน[15] ประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ผู้ที่จะเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันจะต้องผ่านการแข่งขันโดด ๆ หลายครั้ง ซึ่งทวีความยากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ในสหรัฐอเมริกา การสอบคัดเลือกได้แก่ การแข่งขันคณิตศาสตร์อเมริกา (American Mathematics Competitions) การทดสอบคณิตศาสตร์อเมริกาสำหรับนักเรียนที่ได้รับเชิญ (American Invitational Mathematics Examination) และโอลิมปิกคณิตศาสตร์สหรัฐอเมริกา (United States of America Mathematical Olympiad) ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็จัดการแข่งขันของตนเอง[ต้องการอ้างอิง] สำหรับผู้ทำคะแนนสูงในการแข่งขันในการเลือกทีมขั้นสุดท้าย ยังจะมีค่ายฤดูร้อน เหมือนกับค่ายของจีน[16]

กระบวนการคัดเลือกตัวแทนเข้าแข่งขันของอดีตสหภาพโซเวียตและประเทศยุโรปตะวันออกอื่น ประกอบด้วย การเลือกทีมหลายปีก่อนหน้า โดยให้การฝึกพิเศษแก่เด็กเหล่านี้สำหรับรายการนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวเลิกไปแล้วในบางประเทศ[17] อาทิ ในยูเครน การสอบคัดเลือก ประกอบด้วย โอลิมปิกสี่ครั้งที่มีความยากและกำหนดเทียบได้กับคณิตศาสตร์โอลิมปิก

ใกล้เคียง

คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ คณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย คณิตศาสตร์ชีววิทยา คณิตศาสตร์เชิงการจัด คณิตศาสตร์ประกันภัย คณิตศาสตร์การเงิน คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์โอลิมปิก 2002

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ http://www.austms.org.au/Gazette/1997/Nov97/hunt.h... http://imo.math.ca/ http://www.akamai.com/html/about/press/releases/20... http://googlepolicyeurope.blogspot.com/2011/01/giv... http://www.iht.com/articles/2007/03/13/news/math.p... http://www.imocompendium.com/?options=gl http://www.livinginperu.com/news/9641 http://blog.medallia.com/2006/07/norwegian_student... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,9... http://imo.wolfram.com/facts.html