กรณีพรรคพลังประชาชนเป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทย ของ คดียุบพรรคการเมือง_พ.ศ._2551

นายวีระ สมความคิด ประธานอำนวยการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) และนายประสิทธิ์ ดอนโพธิ์งาม ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ยื่นคำร้องขอให้ กกต.พิจารณาพฤติกรรมของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ว่ามีการกระทำเข้าข่ายเป็นตัวแทนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย หรือไม่

คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนขึ้น โดยมีนายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ เป็นประธาน คณะอนุกรรมการให้เจ้าหน้าที่ กกต.ประสานงานกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเปิดโอกาสให้ไปชี้แจงกรณีที่ถูกพาดพิง[5] และ กกต.เห็นชอบให้คณะอนุกรรมการขยายเวลาสอบสวนไปอีก 15 วันนับตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2551[6]

วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณากรณีดังกล่าวโดยแบ่งเป็นสองประเด็น คำร้องของนายประสิทธิ์นั้น กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดได้ ส่วนคำร้องของนายวีระ กกต.มีมติ 3:1:1 สามเสียงเห็นว่าปรากฏหลักฐานเพียงพอที่พรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้วไม่เข้าข่ายมีความผิดตามมาตราใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หนึ่งเสียงเห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดและไม่มีพฤติการณ์เข้าองค์ประกอบความผิด ส่วนอีกหนึ่งเสียงเห็นว่าควรแจ้งนายทะเบียนพรรคดำเนินการตรวจสอบต่อ[7]

ใกล้เคียง

คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2563 คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ คดีทุจริตโรงพัก 396 แห่ง คดีทุจริตที่ดินรัชดา คดีตุ๊กตา คดีอุทลุม คดีระหว่างยูเครนกับสหพันธรัฐรัสเซีย (พ.ศ. 2565)