คทาแอสคลีเพียส
คทาแอสคลีเพียส

คทาแอสคลีเพียส

คทาแอสคลีเพียส (Rod of Asclepius) หรือไม้เท้าของแอสคลีเพียส เป็นคทาของเทพแอสคลีเพียส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาในตำนานเทพปกรณัมกรีก คทาแอสคลีเพียสใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์และการรักษามาจนปัจจุบัน แต่ยังมีการใช้สับสนกันระหว่างคทาของแอสคลีเพียสและคทาของเฮอร์มีส ที่ชื่อว่า คาดูเซียส[1]ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก แอสคลีเพียส ซึ่งมีสถานะครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษา จะมีคทาประจำตัวอันหนึ่ง มีลักษณะเป็นแท่งและมักจะมีงูหนึ่งตัวพันเกลียวรอบคทาเป็นสัญลักษณ์ แต่ในบางครั้งอาจจะพบว่างูไม่ได้พันเกลียวรอบ แต่มักจะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงแอสคลีเพียส ร่ำเรียนวิชาการรักษามาจากไครอน ซึ่งเป็นเซนทอร์ที่ชุบเลี้ยงแอสคลีเพียสมาตั้งแต่ยังเป็นทารก จนได้กลายมาเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงของกรีก แอสคลีเพียสได้ใช้สัญลักษณ์คทาที่มีงูพันเกลียวรอบแทนการแพทย์และการรักษา สมัยกรีกโบราณมีสถานที่ที่เป็นศาสนสถานสำหรับรักษาโรค (Healing temple) มีชื่อเรียกตามเทพแอสคลีเพียสว่า อัสคลิเปียน (Asclepioen) ในตำนานกรีกโบราณมีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงแอสคลีเพียสที่สำคัญ คือเมื่อฮิปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์แผนตะวันตกจะกล่าวคำสัตย์สาบาน (Hippocrates oath) ได้กล่าวการสาบานตนด้วยประโยคว่า "ข้าขอสาบานแด่อะพอลโลผู้เป็นแพทย์ แด่แอสคลีเพียส แด่ไฮเจียและพานาเซีย และแด่เหล่าเทพทั้งมวล" คำสัตย์สาบานของฮิปพอคราทีส ได้เป็นต้นแบบของปฏิญญาอันเป็นจริยธรรมของวิชาชีพแพทย์มาจนถึงปัจจุบันนี้[2]งูที่พันรอบคทาของแอสคลีเพียส ได้ถูกตีความว่าอย่างหลากหลาย มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่มีการใช้สัญลักษณ์งูพันรอบคทาของแอสคลีเพียส การลอกคราบของงู เป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูหรือการกำเนิดใหม่ หรือถูกตีความว่าเป็นเหมือนการรักษาของแพทย์ที่ต้องทำงานที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความเป็นและความตาย ความคลุมเครือของงูยังแสดงถึงความขัดแย้งในปัจจุบันของการใช้ยา ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยถ้าใช้เหมาะสมและอาจจะให้โทษเมื่อใช้ไม่เหมาะสม ซึ่งไกล้เคียงกับคำในภาษากรีกว่า Pharmakon ที่หมายถึง ยา (medicine) หรือ ยาพิษ (poison)[3] หรือแม้กระทั่งพิษของงูที่ใช้ในการรักษา ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ระวังยังมีข้อถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่า สัญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์ที่เชื่อว่าเป็นคทาแอสคลีเพียสนั้น ความจริงแล้วเป็นพยาธิที่ชื่อว่า Dracunculus medinensis ซึ่งมักจะชอนไชตามผิวหนังของผู้ป่วยในสมัยโบราณ แพทย์จะรักษาโดยการกรีดผิวหนัง เมื่อพยาธิออกมานอกผิวหนังแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งเพื่อพันตัวพยาธิออกมาจนหมด โดยลักษณะที่พยาธิพันบนแท่งนั้น เหมือนกันกับสัญลักษณ์งูพันเกลียวบนคทาของแอสคลีเพียส[4]ปัจจุบันคทาแอสคลีเพียสถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งสัญลักษณ์ขององค์กรนานาชาติเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร สมาคมแพทย์ออสเตรเลีย[5]