กติกาการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของ คนเก่งภาษาไทย

ให้เด็ก ๆ นักเรียนที่เรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศแข่งขันในระบบเป็นภาคทั้งหมด 4 ภาค ทั้งภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคใต้-ภาคกลาง มาทำการแข่งขันตอบคำถามภาษาไทยจะต้องแบ่งจับสลากทั้งหมด 64 โรงเรียน 16 สาย ๆ ละ 4 โรงเรียน เพื่อที่จะหาผู้ชนะเพียงโรงเรียนเดียวที่จะได้รับรางวัลถ้วยจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและทุนการศึกษามูลค่า 100,000 บาท จาก ราชบัณฑิตยสถาน

รอบแรก

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ ได้แก่

รู้คำจำแม่น

ทั้ง 4 โรงเรียน จะต้องค้นหาคำศัพท์ที่มีความหมายตามโจทย์ที่กำหนด (เช่น คำใดต่อไปนี้ที่แปลว่า "ผู้หญิง") โดยจะมีคำศัพท์มาให้ 8 คำ และจะมี 4 คำที่มีความหมายตรงตามที่โจทย์กำหนด แต่ละโรงเรียนจะต้องค้นหาคำเหล่านั้น จะต้องตกรอบไป ในกรณีที่มีคะแนนน้อยที่สุดเท่ากัน 2 โรงเรียนขึ้นไป ก็จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลามากที่สุด จะต้องตกรอบไป

ใบ้คำนำศัพท์

จะมีชุดคำศัพท์ทั้งหมด 3 ชุด ๆ ละ 10 คำ ซึ่งทั้ง 10 คำ จะขึ้นต้นด้วยพยางค์เดียวกันหมด (เช่น มะกรูด มะนาว มะพร้าว ฯลฯ) โรงเรียนที่มีคะแนนมากที่สุดจะรอบที่แล้วจะได้เลือกชุดคำก่อน โดยจะมีเวลาให้ 1 นาทีในการเล่น โดยจะผลัดกันเป็นผู้อ่านคำใบ้และผู้ตอบ ผลัดกันไปเรื่อย ๆ หากไม่แน่ใจสามารถบอกข้ามได้ เมื่อจบการแข่งขัน โรงเรียนใดมีคะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกรอบไป

เกมใบ้คำนำศัพท์มีลักษณะคล้ายกับเกมคำศัพท์ปริศนาของรายการเวทีทอง โดยกฎกติกามีความคล้ายคลึงกับเกมคำศัพท์ปริศนาอย่างมาก ต่างกันที่รายการเวทีทองมีเวลาในการเล่นเกม 45 วินาที และพิธีกรจะเป็นผู้อ่านคำใบ้ แต่ในรายการคนเก่งภาษาไทยจะมีเวลาในการเล่น 1 นาที (60 วินาที) และผู้แข่งขันจะต้องผลัดกันใบ้-ผลัดกันตอบ

รู้ไหมใครเอ่ย

จะมีคุณสมบัติของตัวละครในวรรณคดีไทยมาให้ 6 ข้อ ทั้ง 2 โรงเรียน จะต้องผลัดกันเลือกเปิดคุณสมบัติมาครั้งละ 1 ข้อ โดยเริ่มจากโรงเรียนที่มีคะแนนมากกว่าจากรอบที่แล้ว เมื่อเปิดคุณสมบัติแล้ว จะต้องตอบให้ถูกต้องว่าตัวละครนี้มีชื่อว่าอะไร ถ้าตอบถูกจะเป็นผู้ชนะทันที แต่ถ้าตอบผิด อีกฝ่ายจะมีสิทธิ์เปิดคุณสมบัติอีก 1 ข้อ และถ้าตอบถูกก็จะเป็นผู้ชนะเช่นกัน

รอบที่ 2

การแข่งขันจะเป็นการเก็บสะสมคะแนน โรงเรียนที่มีคะแนนสูงสุด 2 ทีม จะได้ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รอบ ได้แก่

พ้องเสียงเรียงต่อคำ

จะมีคำลงท้ายให้ทั้งหมด 4 คำ ซึ่งคำนำหน้าจะเป็นคำพ้องเสียงทั้งหมด ทั้ง 4 ทีมจะต้องเติมคำตอบและสะกดให้ถูกต้อง และเมื่อตอบเสร็จให้หยุดเวลา โรงเรียนใดตอบถูกมากที่สุด จะได้ 4 คะแนน 3 คะแนน 2 คะแนน และ 1 คะแนน ตามลำดับ ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน 2 โรงเรียนขึ้นไป ก็จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลาน้อยที่สุด จะได้คะแนนตามลำดับ

สันทัดภาษา

พิธีกรจะให้คำถามเกี่ยวกับความรู้ในภาษาไทย เช่น คำใดเขียนผิด, คำใดเป็นคำประสม ฯลฯ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ ทีมใดที่ต้องการจะตอบ ต้องกดไฟก่อน หากตอบถูก จะได้ 1 คะแนน ตอบผิด จะหมดสิทธิ์ตอบอีกในคำถามนั้น เมื่อพิธีกรถามคำถามหมดแล้ว ทีมใดได้คะแนนมากที่สุด จะได้ 4 คะแนน 3 คะแนน 2 คะแนน และ 1 คะแนนตามลำดับ

รู้ไหมใครเอ่ย (ในรอบที่ 2)

จะมีคุณสมบัติเป็นบทกลอนในวรรณคดีไทยมา 6 ข้อ โดยพิธีกรจะเปิดคุณสมบัติทีละข้อ โดยจะให้มีเวลาวิเคราะห์ 15 วินาที ถ้าจะตอบจะต้องกดไฟก่อน แล้วจึงจะตอบคำถามได้ หากไม่มีทีมไหนกดไฟ พิธีกรจะเปิดคุณสมบัติข้อต่อไปทันที ทีมใดตอบถูก จะได้ 4 คะแนน

รอบ 8 ทีมสุดท้าย

การแข่งขันจะเจอกันเป็นคู่ ๆ เพื่อหา 4 โรงเรียนที่จะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป แบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ

พ้องเสียงเรียงต่อคำ (รอบที่ 2)

จะมีคำลงท้ายให้ทั้งหมด 4 คำ ซึ่งคำนำหน้าจะเป็นคำพ้องเสียงทั้งหมด ทั้ง 2 ทีมจะต้องเติมคำตอบและสะกดให้ถูกต้อง และเมื่อตอบเสร็จให้หยุดเวลา โรงเรียนใดตอบถูกมากกว่า จะได้ 1 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลาน้อยที่สุด จะได้คะแนนไป

สันทัดภาษา (รอบที่ 2)

พิธีกรจะให้คำถามเกี่ยวกับความรู้ในภาษาไทย เช่น คำใดเขียนผิด, คำใดเป็นคำประสม ฯลฯ มีทั้งหมด 5 ข้อ ทีมใดที่ต้องการจะตอบ ต้องกดไฟก่อน หากตอบถูก จะได้ 1 คะแนน ตอบผิด จะหมดสิทธิ์ตอบอีกในคำถามนั้น เมื่อพิธีกรถามคำถามหมดแล้ว ทีมใดได้คะแนนมากกว่า จะได้ 1 คะแนน

อ่านคล่องต้องจังหวะ

จะมีบทกลอน 3 ชุด ชุดละ 1 บท มาให้ โดยแต่ละทีมจะต้องเลือกมา 1 ชุด แล้วต้องอ่านให้ถูกต้อง ชัดเจน และไพเราะตามอักขรวิธี ซึ่งจะมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาตัดสิน หากกรรมการตัดสินว่าใครได้ จะได้ 2 คะแนน

รอบรองชนะเลิศ

การแข่งขันจะเจอกันเป็นคู่ ๆ เพื่อหา 2 โรงเรียนที่จะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป แบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ

พ้องเสียงเรียงต่อคำ

จะมีคำลงท้ายให้ทั้งหมด 4 คำ ซึ่งคำลงท้ายจะเป็นคำพ้องเสียงทั้งหมด ทั้ง 2 ทีมจะต้องเติมคำตอบและสะกดให้ถูกต้อง และเมื่อตอบเสร็จให้หยุดเวลา โรงเรียนใดตอบถูกมากกว่า จะได้ 1 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลาน้อยที่สุด จะได้คะแนนไป

คำใดใช้ถูก

เติมคำลงในช่องว่างให้คำมีความสมบูรณ์เหมาะสมและถูกต้อง 5 ข้อ มีคำศัพท์ให้ 8 คำ โรงเรียนใดได้คะแนนมากกว่า จะได้คะแนนไป

ประโยคนี้มีปัญหา

มีประโยคที่ใช้คำที่ผิด ให้หาจุดที่ใช้คำผิด และต้องแก้ไขให้ถูกต้อง มีทั้งหมด 5 ประโยค โรงเรียนใดได้ 3 ประโยคก่อน จะได้ 2 คะแนน

รอบชิงที่ 3

พ้องเสียงเรียงต่อคำ

จะมีคำลงท้ายให้ทั้งหมด 4 คำ ซึ่งคำลงท้ายจะเป็นคำพ้องเสียงทั้งหมด ทั้ง 2 ทีมจะต้องเติมคำตอบและสะกดให้ถูกต้อง และเมื่อตอบเสร็จให้หยุดเวลา โรงเรียนใดตอบถูกมากกว่า จะได้ 1 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน จะต้องตัดสินด้วยเวลาที่ใช้ในการตอบ โรงเรียนใดใช้เวลาน้อยที่สุด จะได้คะแนนไป

คำประพันธ์นั้นชื่อใด

ให้จัดคำประพันธ์จากข้อความที่เขียนติดกัน ให้เป็นคำประพันธ์ที่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ หากโรงเรียนใดต้องการตอบจะต้องกดไฟ หากตอบถูก 2 ข้อก่อน จะได้รับ 1 คะแนน

ประโยคนี้มีปัญหา

มีประโยคที่ใช้คำที่ผิด ให้หาจุดที่ใช้คำผิด และต้องแก้ไขให้ถูกต้อง มีทั้งหมด 5 ประโยค โรงเรียนใดได้ 3 ประโยคก่อน จะได้ 2 คะแนน

ใกล้เคียง

คนเก่งทะลุโลก คนเก่งฟ้าประทาน คนเก็บของป่าล่าสัตว์ คนเล่าผี คนเกมทะลุเกม คนเกี่ยวข้าว (เบรอเคิลผู้พ่อ) คนเผ่าบ๊อง ต๊องตะลุยเมือง คนเล่นลูท (คาราวัจโจ) คนเก็บฟืน (คัมภีร์ไบเบิล) คนแก่