มัลแวร์ ของ คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: มัลแวร์

สำนักข่าว Ars Technica ได้รายงานในเดือนมกราคม 2018 ว่า โฆษณาของยูทูบที่ติดโปรแกรมจาวาสคริปต์ ได้ใช้เพื่อขุดหาเหรียญคริปโทสกุล Monero[27]

บิตคอยน์

โจรกรรมโดยมัลแวร์

มัลแวร์บางอย่างสามารถขโมยกุญแจส่วนตัวในวอลเลตบิตคอยน์ ซึ่งก็ทำให้สามารถขโมยบิตคอยน์เองได้แบบที่สามัญสุดจะค้นหาคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตในคอมพ์ แล้วอั๊ปโหลดวอลเลตไปยังคอมพิวเตอร์อื่นเพื่อเจาะหารหัสและขโมยบิตคอยน์ต่อไป[28]แบบจำนวนมากจะบันทึกการพิมพ์ที่แป้นพิมพ์เพื่อเก็บรหัสผ่าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเจาะหารหัส[28]บางอย่างจะตรวจดูที่อยู่บิตคอยน์ซึ่งก๊อปปี้ไปยังคลิปบอร์ด แล้วเปลี่ยนให้เป็นที่อยู่อื่น ทำให้ส่งบิตคอยน์ไปยังที่อยู่ผิด ๆ[29]วิธีเหล่านี้ได้ผลเพราะธุรกรรมของบิตคอยน์ย้อนคืนไม่ได้[30]

มีไวรัสคอมพิวเตอร์หนึ่งที่กระจายผ่าน Pony botnet[upper-alpha 1]ซึ่งรายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าขโมยคริปโทเคอร์เรนซีมีมูลค่าถึง 220,000 เหรียญสหรัฐ (7.1 ล้านบาท) รวมทั้งบิตคอยน์จากวอลเลต 85 ใบ[33]บริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูล คือ Trustwave ซึ่งติดตามมัลแวร์นี้ ได้รายงานว่ารุ่นล่าสุดของมันสามารถขโมยเงินดิจิทัลกว่า 30 สกุล[34]

มัลแวร์ของแม็คที่ออกอาละวาดในเดือนสิงหาคม 2013 คือ Bitvanity ทำตัวเหมือนกับตัวสร้างที่อยู่บิตคอยน์แบบเลขสวย แต่กลับขโมยที่อยู่และกุญแจส่วนตัวจากซอฟท์แวร์ที่ใช้บริการบิตคอยน์อื่น ๆ[35]ส่วนโปรแกรมม้าโทรจันอีกโปรแกรมหนึ่งสำหรับแมคโอเอสซึ่งเรียกว่า CoinThief รายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าทำโจรกรรมบิตคอยน์หลายกรณี[35]โดยซ่อนอยู่กับแอ๊ปคริปโทเคอร์เรนซีบางรุ่นที่โหลดมาจาก Download.com และ MacUpdate[35]

โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomware)

โปรแกรมเรียกค่าไถ่หลายชนิดเรียกให้จ่ายเป็นเป็นบิตคอยน์[36][37]โปรแกรมหนึ่งเรียกว่า CryptoLocker ซึ่งปกติจะกระจายเป็นไฟล์แนบติดอีเมลล์ จะเข้ารหัสลับข้อมูลฮาร์ดดิสก์ของคอมพ์ที่ติดเชื้อ แล้วแสดงนาฬิกานับถอยหลัง และเรียกร้องค่าไถ่เป็นบิตคอยน์เพื่อให้ถอดรหัสข้อมูลให้[38]แม้แต่ตำรวจรัฐแมสซาชูเซตส์ก็ยังต้องจ่ายค่าไถ่เป็นบิตคอยน์สองเหรียญในเดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งมีมูลค่า 1,300 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4 หมื่นบาท) เพื่อถอดรหัสข้อมูลฮาร์ดดิสก์ของตำรวจ[39]

บิตคอยน์ยังใช้เป็นสื่อในโปรแกรมเรียกค่าไถ่ WannaCry อีกด้วย[40]โปรแกรมเรียกค่าไถ่หนึ่งทำให้ต่อเน็ตไม่ได้ และเรียกร้องข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อแก้คืน ในขณะที่ขุดหาเหรียญบิตคอยน์อย่างลับ ๆ[38]

การขุดหาเหรียญโดยไม่ได้อนุญาต

ในเดือนมิถุนายน 2011 บริษัท Symantec เตือนว่า คอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อเป็นส่วนของบ็อตเน็ต[upper-alpha 1] สามารถใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ได้อย่างลับ ๆ[41]มัลแวร์นี้ใช้สมรรถภาพการประมวลผลแบบขนานของหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ที่มีในการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ[42]แม้คอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ใช้หน่วยประมวลผลกราฟิกส์แบบรวม (integrated graphics processor) แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรในการขุดหาเหรียญ แต่คอมพิวเตอร์เป็นหมื่น ๆ ที่มีมัลแวร์ขุดหาเหรียญอาจให้ผลอะไรได้บ้าง[43]

ในกลางเดือนสิงหาคม 2011 มีการตรวจเจอบ็อตเน็ตที่ใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์[44]และหลังจากนั้นไม่ถึงสามเดือน ก็ได้พบโปรแกรมม้าโทรจันเพื่อขุดหาเหรียญบิตคอยน์ในแมคโอเอส[45]

ในเดือนเมษายน 2013 องค์กรกีฬาอิเล็กทรอนิก E-Sports Entertainment ถูกกล่าวหาว่าจี้เอาคอมพิวเตอร์ 14,000 เครื่องเพื่อขุดหาบิตคอยน์ ต่อมาบริษัทจึงยอมความระงับคดีกับรัฐนิวเจอร์ซีย์[46]

ในเดือนธันวาคม 2013 ตำรวจเยอรมันได้จับผู้ต้องหา 2 คนเนื่องกับการปรับซอฟท์แวร์บ็อตเน็ตที่มีอยู่เพื่อใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ได้ใช้ขุดหาเหรียญมีมูลค่าอย่างน้อย 950,000 เหรียญสหรัฐแล้ว (ประมาณ 29 ล้านบาท)[47]

ในช่วงระยะ 4 วันระหว่างเดือนธันวาคม 2013 และมกราคม 2014 บริษัทยาฮู!ยุโรปแสดงโฆษณาที่มีมัลแวร์ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ โดยได้ติดคอมพิวเตอร์ประมาณ 2 ล้านเครื่อง[48]ซอฟต์แวร์นี้ คือ Sefnit ได้ตรวจพบเป็นครั้งแรกกลางปี 2013 และรวมจำหน่ายกับซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายอย่างมากไมโครซอฟท์ได้กำจัดมัลแวร์นี้ผ่านไมโครซอฟท์ ซีเคียวริตี้ เอสเซนเชียลและซอฟท์แวร์รักษาความปลอดภัยอื่น ๆ[49]

มีรายงานว่า พนักงานหรือนักศึกษาได้ใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยหรือคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัย เพื่อขุดหาบิตคอยน์[50]ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ตามอีเมลภายในของสถาบัน สมาชิกคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดถูกยุติไม่ให้เข้าถึงสาธารณูปการะคอมพิวเตอร์งานวิจัยของมหาวิทยาลัย หลังจากตั้งระบบขุดหาโดชคอยน์โดยใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัย[51]

ใกล้เคียง

คริปโทเคอร์เรนซี คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย คริปโตไนต์ คริปโต.คอม อารีนา คริปโทแซนทิน คริสโตเฟอร์ โนแลน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คริสโตเฟอร์ โรบิน (ภาพยนตร์) คริสโตเฟอร์ โนวินสกี

แหล่งที่มา

WikiPedia: คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย http://www.techworld.com.au/article/405849/mac_os_... http://www.bbc.com/news/technology-25233230 http://ww2.cfo.com/cyber-security-technology/2016/... http://www.coindesk.com/bitfinex-reimburses-first-... http://www.coindesk.com/nearly-150-strains-malware... http://www.computerworld.com/article/2488144/malwa... http://www.eset.com/int/about/press/articles/artic... http://www.fastcompany.com/3027373/fast-feed/anoth... http://www.financemagnates.com/cryptocurrency/trad... http://business.financialpost.com/2014/03/05/after...