ในสายอาชีพระดับสากล ของ คริสตี_แรมโพนี

คริสตี (ในชุดเหลือง) แย่งบอลจากเพื่อนร่วมทีม เอมี เลอปีลเบ ในช่วงการฝึกซ้อมวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2011 ใน ไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

คริสตี แรมโพนี เป็นตัวแทนของสหรัฐอเมริกาในฟุตบอลโลกหญิง 1999, 2003, 2007 และ 2011 รอบไฟนอล และโอลิมปิกฤดูร้อน 2000, 2004, 2008 และ 2012

หลังจากการฝึกร่วมกับฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาช่วงปีที่สี่ของเธอที่มอนเมาธ์ แรมโพนีได้เปลี่ยนไปเล่นในตำแหน่งกองหลัง ซึ่งเกมแรกของแรมโพนีคือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 โดยได้พบกับทีมออสเตรเลีย เธอทำประตูให้แก่ทีมชาติของเธอครั้งแรกในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ในนัดที่แข่งขันกับเกาหลีใต้ แรมโพนีเริ่มเกม 16/18 ในฤดูกาลแรกของเธอ และจบลงด้วยสองประตูกับการร่วมสมทบสามครั้ง[2] ปีถัดมา แรมโพนีได้ช่วยให้ทีมของเธอไร้พ่ายในฤดูกาลแรก และนำทีมสหรัฐอเมริกาเข้ารับเหรียญทองในการแข่งขันกูดวิลเกมส์ 1998 โดยเริ่มในการแข่งขันทั้งสองแมตช์

แรมโพนีเข้าเล่น 2,540 นาทีให้แก่ทีมชาติใน ค.ศ. 2000 รวมถึงห้าเกมในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ที่ซึ่งทีมดังกล่าวก็ได้รับรางวัลเหรียญเงิน ใน ค.ศ. 2001 แรมโพนีประสบเหตุเอ็นไขว้หน้าฉีก และพลาดการเข้าร่วมทีมชาติจำกัดในฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่ แรมโพนีได้กลับมาร่วมทีมที่ค่ายฝึกสองครั้งใน ค.ศ. 2002 แต่ก็ได้มุ่งเน้นไปยังการฟื้นตัวการผ่าตัดของเธอ ใน ค.ศ. 2003 เธอได้เริ่มต้นเกมทีมชาติ 15/17 และฟุตบอลโลกหญิงสี่แมตช์ที่ซึ่งนำพาทีมของเธอเข้ารับรางวัลเหรียญทองแดง

ในเอเธนส์โอลิมปิก 2004 เธอได้ช่วยสหรัฐอเมริกาคว้าเหรียญทองภายหลังจากชนะบราซิลในโอลิมปิกรอบไฟนอลร่วมกับเพื่อนรุ่นอาวุโสของเธอที่มีอยู่เพียงไม่กี่ราย ซึ่งได้แก่ เมีย แฮม, แบรนดี เชสเตน และจูลี เฟาดี ในปีเดียวกันนี้แรมโพนีได้เป็นตัวรับยอดเยี่ยมอันดับห้าแห่งประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา[3]

แรมโพนีกลับมาร่วมทีมอีกครั้งใน ค.ศ. 2006 หลังจากหยุดในฤดูกาล 2005 ที่ซึ่งเธอมีลูกคนแรก ใน ค.ศ. 2006 คริสตีกลับมาร่วมทีมเพียง 112 วันหลังคลอดในการแข่งขันฟุตบอลหญิงสี่ประเทศของจีน ค.ศ. 2007 เป็นปีที่แรมโพนีมีความคึกคักมากที่สุด โดยเริ่มใน 20 เกมที่ซึ่งเธอได้เล่นและเธอได้เป็นตัวรับมากที่สุดรวมถึงเป็นตัวรับอันดับสองที่เล่นในฟุตบอลโลกหญิง 2007 แล้วเธอก็ได้เริ่มแข่งขันในฟุตบอลโลกทั้งหกครั้ง

ใน ค.ศ. 2008 แรมโพนีได้รับการกำหนดให้เป็นกัปตัน[4] ของทีมชาติหญิง และนำทีมสหรัฐอเมริกาเข้ารับรางวัลเหรียญทองอีกครั้ง เธอได้เข้าร่วมทีมชาติเป็นครั้งที่ 200 ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เนื่องด้วยการอำลาวงการของเพื่อนร่วมทีมชื่อ คริสทีน ลิลลี ใน ค.ศ. 2010 แรมโพนีก็ได้กลายเป็นผู้เล่นทีมชาติที่ยังคงมีผลงานมากที่สุดในโลก และเป็นอันดับสี่ของผู้เล่นให้แก่ทีมชาติเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดตลอดกาลด้วยจำนวน 271 ครั้ง ถัดจากลิลลี, แฮม และจูลี เฟาดี

แรมโพนีทำหน้าที่เป็นกัปตันให้แก่ทีมสหรัฐอเมริกาซึ่งได้อันดับสองในการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2011 โดยเป็นฝ่ายแพ้ญี่ปุ่น 1–3 ในการดวลกันที่จุดโทษ เนื่องด้วยเสมอกัน 2–2 ในช่วงก่อนหน้าก่อนที่จะมีการต่อเวลาพิเศษ เธอใช้เวลาในการเล่นรวม 600 นาทีในทั้ง 6 แมตช์ที่สหรัฐอเมริกาเข้าแข่งขัน[5]

ในลอนดอนโอลิมปิก 2012 แรมโพนีทำหน้าที่เป็นกัปตันทีมสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งเป็นฝ่ายชนะทีมญี่ปุ่น 2–1 ประตูในรอบไฟนอล โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง ซึ่งเธอใช้เวลาในการเล่นทั้งหมด 570 นาทีในการแข่ง 6 นัด รวมทั้งเป็นผู้จ่ายบอลทำประตู 1 ลูก[6] และทีมสหรัฐอเมริกาชนะได้ทั้งหกแมตช์ในการแข่งขันลอนดอนโอลิมปิก รวมทั้งไม่ให้ทำประตูใน 3 เกม

แหล่งที่มา

WikiPedia: คริสตี_แรมโพนี http://www.axiomsport.com/clients/christierampone.... http://mainstusa.blogspot.com/2008/01/your-new-cap... http://www.christierampone.com/ http://sportsillustrated.cnn.com/2011/writers/gran... http://www.fifa.com/tournaments/archive/womensworl... http://www.fifa.com/womensolympic/teams/team=18828... http://www.fifa.com/worldfootball/statisticsandrec... http://espn.go.com/sports/soccer/story/_/id/780768... http://www.soccertimes.com/usteams/roster/women/pe... http://www.ussoccer.com/Teams/WNT/R/Christie-Rampo...