ควอนตัมดอต
ควอนตัมดอต

ควอนตัมดอต

ควอนตัมดอต (อังกฤษ: quantum dot) เป็นวัสดุที่มีขนาดเล็กมากเพียงไม่กี่นาโนเมตร ประกอบขึ้นจากอนุภาคของสารกึ่งตัวนำ และเนื่องจากขนาดดังกล่าว วัสดุชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติทางแสงและอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างจากสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ ควอนตัมดอตสามารถเปล่งแสงที่มีความถี่เฉพาะหากได้รับกระแสไฟฟ้า หรือ มีแสงมาตกกระทบ นอกจากนั้นการเปลี่ยนขนาด[1][2] รูปร่าง และชนิดของสสาร ยังสามารถเปลี่ยนความถี่ของแสงที่ออกมาได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถถูกนำไปประยุกตใช้ได้อย่างมากมายในภาษาของวิชาวัสดุศาสตร์ วัสดุซึ่งทำมาจากสารกึ่งตัวนำที่มีหน่วยเป็นนาโนเมตร จะจำกัดขอบเขตการกระจายของอิเล็กตรอนไว้อย่างเหนียวแน่น หรือ สร้างพื้นที่ที่อิเล็กตรอนไม่สามารถเข้าไปได้ (electron hole) ในบางครั้งควอนตัมดอตจะถูกเรียกว่า อะตอมเทียม ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เน้นให้เห็นว่า ควอนตัมดอตเป็นวัตถุเดี่ยวซึ่งมีอิเล็กตรอนที่มีสถานะจำกัดขอบเขต และไม่ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอะตอมหรือโมเลกุลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ[3][4]ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาวัสดุที่ มีโครงสร้างในระดับนาโนเมตรในทุกมิติ หรือ กล่าวอีกในหนึ่งคือ เทคโนโลยี ศูนย์ มิติ (Zero dimension nanotechnology) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า ผลึกนาโน (nanocrystals) ประกอบขึ้นจากธาตุ หมู่ สอง-หก (II-VI) , สาม-ห้า (III-V) , และ สี่-หก (IV-VI) ใน ตารางธาตุของเพอริออดิก (periodic table) วัสดุเหล่านี้ได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิก เช่น วงจรในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จุดเด่นของ ควอนตัมดอต คือ มีขนาดเล็กมาก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 2-10 นาโนเมตร หรือ 10-50 อะตอม นอกจากนั้นการนำไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการกระตุ้นภายนอก เช่น ความต่างศักย์ และ ฟรักซ์ ของ โฟตอน (photon flux) หรือ จำนวนโฟตอนต่อเวลาต่อพื้นที่ เป็นต้น[5]ยกตัวอย่างเช่น แคดเมียมซีลีไนด์ (CdSe)โดยปกติ โลหะแคดเมียมเป็นตัวนำไฟฟ้า แต่ ซีลีเนียมไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ แต่เมื่อนำโลหะสองชนิดมารวมกัน บวกกับการกระตุ้นจากภายนอก แคดเมียมซีลีไนด์ สามารถนำไฟฟ้าได้